image big 5f44dfacf0c57ฟ้าทะลายโจร 

มีชื่อชื่อวิทยาศาสตร์ว่าAndrographis paniculata (Burm.f.) Nees จัดอยู่ในวงศ์เหงือกปลาหมอ (ACANTHACEAEสมุนไพรฟ้าทะลายโจร(มักเขียนผิดเป็น ฟ้าทลายโจร, ฟ้าทะลายโจน) มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ฟ้าทะลาย ฟ้าทะลายโจร น้ำลายพังพอน (กรุงเทพมหานคร),

สามสิบดี เขตตายยายคลุม (ร้อยเอ็ด), หญ้ากันงู (สงขลา), ฟ้าสะท้าน (พัทลุง), เมฆทะลาย (ยะลา), ฟ้าสาง (พนัสนิคม), ขุนโจรห้าร้อย (ภาคกลาง), ซวนซิน เหลียง เจ็กเกี่ยงสี่ คีปังฮี โซ่วเซ่า (จีน) เป็นต้น

  • ลักษณะของฟ้าทะลายโจร
  • ต้นฟ้าทะลายโจร จัดเป็นพืชล้มลุกที่มีความสูงประมาณ 30-70 เซนติเมตร หรือประมาณ 1-2 ศอก ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งมาก ทุกส่วนของต้นมีรสขม กิ่งเป็นใบสีเหลี่ยม สามารถพบได้ทั่วไปในประเทศไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน และหมู่เกาะในทะเลแคริบเบียน

     99afd2d6b5ded513f048086037704ebf242e2f40

  • ใบฟ้าทะลายโจร ลักษณะเป็นใบเดี่ยว แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ลักษณะของใบรียาว ปลายใบแหลม097a29424819a18042ab6b869ab29f632387de52378fad8eb54966bbe16682af

  • ดอกฟ้าทะลายโจร ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็กสีขาว มีดอกย่อย กลีบดอกมีสีขาวโคนกลีบติดกัน ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ (มีเส้นสีม่วงแดงพาดอยู่) ส่วนปากล่างมี 2 กลีบ
    859

  • ผลฟ้าทะลายโจร ลักษณะเป็นฝัก ฝักจะคล้ายกับฝักต้อยติ่ง (หรือเป๊าะแป๊ะ) ฝักอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่ฝักจะเป็นสีน้ำตาลและแตกได้ ภายในฝักมีเมล็ดสีน้ำตาลอ่อนจำนวนมาก

  • สมุนไพรฟ้าทะลายโจร มีสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ทางยาสมุนไพรอยู่ 3 สารด้วยกัน โดยเป็นสารในกลุ่ม Lactone ซึ่งก็คือ สารแอดโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide), สารนีโอแอนโดรกราโฟไลด์ (Neo-Andrographolide), และสาร 14-ดีอ๊อกซี่แอนโดรกราโฟไลด์ (14-deoxy-andrographolide) โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้แก่ ใบสด ใบแห้ง และทั้งต้น โดยใบจะเก็บมาใช้ได้เมื่อต้นมีอายุได้ราว 3-5 เดือน

    สรรพคุณของฟ้าทะลายโจร
    สรรพคุณฟ้าทะลายโจรช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย ต่อต้านสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย รวมไปถึงช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาวให้จับกินเชื้อโรคได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

    1. สรรพคุณฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง

    2. สรรพคุณฟ้าทะลายโจร ใบใช้เป็นยาขมช่วยทำให้เจริญอาหาร (ใบ)

    3. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้ต้นฟ้าทะลายโจร กระชาย และว่านเอ็นเหลือง นำมาทำเป็นยาเม็ดลูกรับประทาน (ต้น)

    4. ช่วยป้องกันและแก้อาการหวัด คัดจมูก ด้วยการใช้ใบและกิ่งประมาณ 1 กำมือ (สดใช้ 25 กรัม แต่ถ้าแห้งใช้ 3 กรัม) นำมาต้มกับน้ำดื่ม รับประทานก่อนอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น หรือในขณะที่มีอาการ (กิ่ง, ใบ)

    5. ช่วยแก้อาการปวดหัวตัวร้อน อาการปวดหัวแบบไม่มีสาเหตุ ด้วยการใช้ใบและกิ่งประมาณ 1 กำมือ (สดใช้ 25 กรัม แต่ถ้าแห้งใช้ 3 กรัม) นำมาต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น หรือในขณะที่มีอาการ (กิ่ง, ใบ)
    6. ฟ้าทะลายโจร สรรพคุณช่วยแก้ไข้ทั่ว ๆ ไป อาการปวดหัวตัวร้อน เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น (ใบ, กิ่ง)
    7. ช่วยรักษาไข้ไทฟอยด์ ด้วยการรับประทานฟ้าทะลายโจรก่อนอาหารครั้งละ 2 เม็ด วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 3 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้กินยาบำรุงเพื่อฟื้นฟูกำลังของผู้ป่วยร่วมด้วย
    8. ช่วยแก้อาการไอ ลดน้ำมูก และช่วยฆ่าเชื้อที่จมูก ด้วยการใช้ใบนำมาทำเป็นยาผงแล้วนำมาใช้สูดดม (ใบ)
    9. ช่วยลดและขับเสมหะ ด้วยการใช้ใบนำมาทำเป็นยาผงแล้วนำมาใช้สูดดม (ใบ)aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL2hlLzAvdWQvNS8yOTg1My9hbmRyb2dyYXBoaXNwYW5pY3VsYXRhLTIuanBn
    10. ช่วยระงับอาการอักเสบ แก้อาการเจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ ด้วยการใช้ใบนำมาทำเป็นยาผงแล้วนำมาใช้สูดดม (ใบ)
    11. ช่วยแก้อาการติดเชื้อ ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน เป็นบิด ด้วยการใช้ทั้งต้น (ส่วนทั้ง 5 ของฟ้าทะลายโจร) นำมาผึ่งลมให้แห้งแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 1 กำมือ (น้ำหนักประมาณ 3-9 กรัม) แล้วนำมาต้มกับน้ำดื่มตลอดวัน (ทั้งต้น)
    1. ช่วยแก้อาการร้อนใน ด้วยการใช้ใบฟ้าทะลายโจรตากแห้ง 15 กรัมและเตยหอมสดหั่นแล้ว 15 กรัม นำมาต้มกับน้ำพอท่วมยาจนเดือด ใช้ดื่มก่อนอาหารเช้า กลางวัน เย็น จะช่วยทำให้อาการร้อนในดีขึ้น แต่ถ้าอยากให้หายขาด แนะนำว่าไม่ต้องดื่มน้ำหลังอาหารมากเกินไป รับประทานอาหารให้ตรงเวลา และออกกำลังกายทุกวัน อาการร้อนในก็จะหายไปในที่สุด (ใบ)

    2. ฟ้าทะลายโจรมีรสขมมาก โดยความขมจะเหนี่ยวนำช่วยทำให้ขับน้ำลายออกมามากขึ้น จึงทำให้ชุ่มคอ

    3. ฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ

    4. ฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ในการช่วยลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบ ช่วยคลายกล้ามเนื้อมดลูก

    5. ฟ้าทะลายโจรมีส่วนช่วยลดการติดเชื้ออหิวาตกโรคในอุจจาระ แต่อาจจะไม่ดีเท่าการใช้ยาเตตราไซคลีนในการรักษา แต่ก็สามารถใช้ทดแทนได้

    6. ช่วยรักษากระเพาะลำไส้อักเสบ (ใบ)

    7. ฟ้าทะลายโจรมีสรรพคุณช่วยในการย่อยอาหารและช่วยเร่งให้ตับสร้างน้ำดี

    8. ช่วยบรรเทาอาการของโรคริดสีดวง ด้วยการรับประทานฟ้าทะลายโจรก่อนอาหารและก่อนนอนครั้งละ 2-3 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง จะช่วยทำให้อาการเลือดออกหรืออาการปวดถ่วงหายไป ทำให้ขับถ่ายได้สะดวกยิ่งขึ้น

    9. ช่วยรักษาโรคตับ ด้วยการรับประทานฟ้าทะลายโจรก่อนอาหารวันละ 2-3 เม็ด วันละ 3 ครั้ง (และควรใช้ยาบำรุงชนิดอื่นด้วย)

    10. ช่วยรักษาโรคผิวหนัง ฝี แผลฝี ด้วยการใช้ใบค่อนข้างแก่ประมาณ 1 กำมือ แล้วเอาเกลือ 3 เม็ด นำมาตำผสมรวมกันในครกจนละเอียด แล้วเอาสุราครึ่งถ้วยชา น้ำครึ่งช้อนชาใส่รวมลงไป คนให้เข้ากันแล้วเทกินค่อนถ้วยชา ส่วนกากที่เหลือนำมาพอกแผลฝี แล้วใช้ผ้าสะอาดพักไว้ ตอนพอกเสร็จใหม่ ๆ อาจจะรู้สึกปวดบ้างเล็กน้อย (ใบ)

    11. ช่วยรักษาแผลอักเสบที่เกิดจากโรคเบาหวาน ด้วยการรับประทานเป็นยาฟ้าทะลายโจรแบบเม็ดและการใช้ทาเพื่อรักษาอาการ

    12. ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดหนองได้ (ใบ)

    13. ช่วยรักษาโรคงูสวัด ด้วยการรับประทานยาฟ้าทะลายโจรก่อนอาหาร 2-3 เม็ด วันละ 3 ครั้ง เป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ เนื่องจากงูสวัดคือเชื้อไวรัสที่จะอยู่นาน 3 สัปดาห์ ถ้าใช้รักษาให้ครบตามเวลา ก็จะทำให้ไม่กลับมาเป็นอีก

    ประโยชน์ของฟ้าทะลายโจร 

    • ช่วยแก้ปัญหาผมร่วง ด้วยการใช้ฟ้าทะลายโจรแคปซูล โดยใช้ครั้งละ 1 แคปซูลด้วยการนำผงดังกล่าวไปละลายในน้ำอุ่น แล้วนำมาชโลมให้ทั่วหนังศีรษะ ทิ้งไว้สักพักแล้วล้างออก
  • ปัจจุบันได้มีการนำสมุนไพรฟ้าทะลายโจรมาผลิตเป็น แคปซูลฟ้าทะลายโจร ซึ่งหาซื้อมารับประทานได้ง่ายและสะดวกในการรับประทานมากยิ่งขึ้น
    4vwX2WabC68MEmi4rXlc
    วิธีใช้ฟ้าทะลายโจร

      • ทำเป็นยาชง ด้วยการใช้ใบสดหรือใบแห้ง (ใบสดจะมีสรรพคุณที่ดีกว่า) ประมาณ 5-7 ใบ แล้วนำมาต้มกับน้ำเดือดลงจนเกือบเต็มแก้ว แล้วปิดฝาทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง เมื่ออุ่นแล้วก็นำมารินดื่ม โดยให้รับประทานก่อนอาหารและก่อนนอนครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3-4 ครั้ง
      • ทำเป็นยาลูกกลอน หรือ ยาเม็ดฟ้าทะลายโจร ด้วยการใช้ใบสดนำมาล้างให้สะอาด แล้วผึ่งในที่ร่มที่มีลมโกรกให้แห้ง (ห้ามตากแดด) นำมาบดจนเป็นผงละเอียด แล้วนำมาปั้นผสมกับน้ำผึ้ง (หรือน้ำเชื่อมก็ได้เช่นกัน) ให้เป็นเม็ดขนาดเท่ากับเม็ดถั่วเหลือง (หนักประมาณ 250 มิลลิกรัม) เมื่อปั้นเสร็จแล้วให้ผึ่งลมจนแห้ง (ถ้าไม่แห้งแล้วนำมารับประทานจะขมมาก) โดยรับประทานก่อนอาหารและก่อนนอนครั้งละ 4-10 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง
      • ทำเป็นยาแคปซูล ด้วยการใช้ผงยาที่ปั้นเป็นยาลูกกลอน ก็ให้นำมาใส่ในแคปซูล เพื่อที่จะช่วยกลบรสขมของยา ทำให้รับประทานได้ง่าย โดยขนาดแคปซูลที่ใช้คือ ขนาดเบอร์ 2 (250 มิลลิกรัม) ใช้รับประทานก่อนอาหารและก่อนนอนวันละ 3-4 แคปซูล วันละ 3-4 ครั้ง
      • ทำเป็นยาผงสำหรับใช้สูดดม โดยใช้ยาผงที่บดละเอียดนำมาใส่ขวด ปิดฝาเขย่าแล้วเปิดฝาออก ผงควันก็จะลอยออกมา ก็ให้สูดดมควันนั้นเข้าไป โดยผงยาจะติดที่คอช่วยทำให้ยาออกฤทธิ์ที่ลำคอโดยตรง จึงช่วยลดเสมหะ แก้อาการเจ็บคอ ช่วยลดน้ำมูก และช่วยฆ่าเชื้อในจมูกได้เป็นอย่างดี (ซึ่งวิธีนี้จะดีกว่าวิธีกวาดคอ วิธีเป่าคอ และวิธีการชง เพราะจะรู้สึกขมน้อย ไม่รู้สึกขยาดเวลาใช้ ใช้งานง่ายและสะดวก) โดยนำมาสูดดมบ่อย ๆ วันละหลาย ๆ ครั้ง แต่ถ้ารู้สึกคลื่นไส้ให้หยุดใช้สักพัก เมื่อหายแล้วก็นำมาสูดใหม่จนกว่าอาการจะดีขึ้น

    ทำเป็นยาดองเหล้า หรือทำเป็นยาทิงเจอร์ ด้วยการใช้ผงแห้งที่ได้นำมาแช่กับสุราโรง 40 ดีกรี (แต่ถ้าใช้แอลกอฮอล์ที่สามารถรับประทานได้ หรือ Ethyl alcohol ก็จะดีกว่าเหล้า) โดยแช่พอท่วมยาผงขึ้นมาเล็กน้อย หลังจากนั้นปิดฝาขวดให้แน่น ทิ้งไว้ 7 วัน และให้เขย่าขวดทุก ๆ วัน วันละ 1 ครั้ง เมื่อครบตามกำหนดก็ให้กรองเอาแต่น้ำนำมาดื่มก่อนอาหารครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ (รสชาติจะขมมาก) วันละ 3-4 ครั้ง (ส่วนที่เหลือก็ให้เก็บไว้ในขวดที่สะอาดและปิดให้สนิท)

       ผู้ที่ไม่ควรใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจร

    • สตรีมีครรภ์
    • ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตต่ำ
    • ผู้ที่เคยมีประวัติเป็นโรคหัวใจรูห์มาติค (Rheumatic heart disease)

    • ผู้ที่มีอาการเจ็บคอเนื่องมาจากการติดเชื้อ Streptococcus group A

    • ผู้ที่มีประวัติเคยเป็นโรคไตอักเสบ เนื่องมาจากการติดเชื้อ Streptococcus group A

    • ผู้ที่มีอาการเจ็บคอเนื่องจากติดเชื้อแบคทีเรียและมีอาการรุนแรง เช่น มีไข้สูง มีอาการหนาวสั่น มีหนองในลำคอ

      คำแนะนำในการใช้ฟ้าทะลายโจร

    • ในต้นฟ้าทะลายโจรมีสารแอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide) ซึ่งละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ แต่ละลายน้ำได้น้อย ดังนั้นตำรับยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรสูตรยาดองเหล้าหรือยาทิงเจอร์จึงมีฤทธิ์แรงที่สุด ส่วนชนิดชงจะมีฤทธิ์รองลงมา และแบบยาเม็ดจะมีฤทธิ์อ่อนที่สุด

    • ฟ้าทะลายโจรเป็นสมุนไพรที่เหมาะสำหรับใช้รักษา "หวัดร้อน" (อาการเหงื่อออก กระหายน้ำ เจ็บ ท้องผูก ปัสสาวะสีเข้ม) แต่ฟ้าทะลายโจรจะไม่เหมาะกับการนำมาใช้รักษาผู้ที่มีอาการ "หวัดเย็น" (ไม่มีเหงื่อ ปัสสาวะบ่อย รู้สึกหนาวสะท้านบ่อย อุ้งมืออุ้งเท้าเย็น) เพราะอาจจะเกิดอาการกำเริบขึ้นได้ เช่น มีอาการหนาวสั่น คลื่นไส้ เป็นต้น

    • ข้อควรระวังในการใช้ ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำไม่ควรใช้ฟ้าทะลายโจร เพราะฟ้าทะลายโจรมีสรรพคุณในการลดความดันโลหิตอยู่แล้ว ซึ่งถ้าหากใช้ฟ้าทะลายโจรอาจจะทำให้เกิดอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ หรือมีอาการมึนงง วิธีการแก้ก็คือให้หยุดใช้ทันที หลังจากนั้น 3-4 ชั่วโมงอาการก็จะดีขึ้นเอง เพราะตัวยาสามารถถูกขับออกไปได้และไม่ตกค้างในร่างกาย

    • ผลข้างเคียงของฟ้าทะลายโจร สำหรับบางรายที่ใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรแล้วเกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย มีอาการปวดเอว หรือมีอาการวิงเวียนศีรษะ แสดงว่าคุณแพ้สมุนไพรชนิดนี้ หากมีอาการดังกล่าวให้หยุดการใช้ยา และเปลี่ยนไปใช้ยาสมุนไพรชนิดอื่นแทน แต่ถ้ามีอาการแพ้ไม่มากก็อาจจะลดขนาดในการรับประทานลงตามความเหมาะสม

    • การใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรในการรักษาอาการต่าง ๆ หากใช้ติดต่อกัน 3 วันแล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการรุนแรงมากขึ้น คุณควรหยุดใช้และให้ไปพบแพทย์ทันที

    • ไม่ควรรับประทานสมุนไพรฟ้าทะลายโจรติดต่อกันนานเกินกว่า 1 สัปดาห์ เพราะอาจจะส่งผลทำให้ร่างกายไม่มีเรี่ยวแรงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแขนและขา และยังรวมไปถึงอาการท้องอืด หน้ามืดตามัว และมือเท้าชา (แต่จากงานวิจัยก็ไม่พบว่าจะเป็นอันตรายรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตหรือมีผลต่อระบบภายในแต่อย่างใด) เพราะสมุนไพรชนิดนี้ตามตำราเวชศาสตร์การแพทย์แผนโบราณระบุไว้ว่าเป็นยาเย็น ช่วยลดธาตุไฟในร่างกาย เมื่อรับประทานเข้าไปร่างกายที่ร้อนจากอาการไข้ก็จะเย็นลง แต่ถ้าหากร่างกายอยู่ในสภาพปกติ การรับประทานติดต่อกันนาน ๆ ก็จะทำให้ร่างกายไม่มีแรง แต่ถ้าหากคุณจำเป็นต้องใช้สมุนไพรชนิดนี้ติดต่อกันเกินกว่า 1 สัปดาห์ ก็ควรจะรับประทานคู่กับน้ำขิง เพื่อช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกาย (นพ.วิชัย ขัตติยวิทยากุล สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, พญ.ดร.อัญชลี จุฑ รองผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์แผนไทย กระทรวงสาธารณสุข)


      แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร มหาวิทยาลัยมหิดล, องค์การเภสัชกรรม, ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุ๊กกี้(Cookies Policy)

เพื่อเพิ่มประสบการณ์การใช้งานให้ดียิ่งขึ้น และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านกด "ยอมรับ" หรือใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อ ถือว่าท่านยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้ โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมและการตั้งค่าคุกกี้ (รวมถึงการปฏิเสธ และการลบ) ได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้