Caraกีฬาตกปลา คือเกมที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากทั้งในเมืองไทยและประเทศต่าง ๆทั่วโลก จะเห็นได้จากร้านอุปกรณ์ตกปลาที่เกิดขึ้นมากมาย รวมถึงการขายออนไลน์ในร้านค้าออนไลน์และในโซเชี่ยลมีเดียต่าง ๆ

และที่สำคัญคือการสามารถเข้าถึงอุปกรณ์ตกปลาได้อย่างง่ายดายของนักตกปลาเนื่องจากอุปกรณ์ตกปลามีราคาที่ถูกลงมาก เพราะมีการย้ายฐานการผลิตมายังประเทศจีน รวมถึงจีนยังมีโรงงานผลิตอุปกรณ์ตกปลาขนาดใหญ่ที่มีกำลังผลิตเป็นจำนวนมาก มีการแข่งขันกันสูง ทำให้นักตกปลาได้มีโอกาสเลือกสินค้าได้อย่างมากมาย แต่การตกปลาก็ใช่ว่าเมื่อมีอุปกรณ์ดี อย่างคัน รอก แล้วจะได้ปลาเสมอไป เพราะการตกปลายังต้องมีอุปกรณ์อื่น ๆ มาเสริมด้วย อย่างการตกปลาหน้าดิน อุปกรณ์ปลายสายก็สำคัญไม่น้อยไปกว่าคันและรอก เช่นกัน อุปกรณ์ตกปลาหน้าดินที่สำคัญจะขาดแทบไม่ได้เลยนั่นก็คือตะกร้อหุ้มเหยื่อนั่นเอง

 

 

takraw12takraw13ตะกร้อที่ใช้ตกปลาหน้าดินก็มีมากมายหลายแบบแล้วแต่ว่านักตกปลาจะออกแบบกันยังไง เพื่อหลอกล่อให้ปลาเข้ามากินเหยื่อของตน การผูกตะกร้อก็มีผลกับการกินเหยื่อของปลาเช่นกัน หากผูกไม่ถูกต้องถึงแม้เหยื่อจะดีโอกาสที่ปลาจะฮุบโดนตัวเบ็ดก็น้อยเช่นกัน การตกปลาหน้าดินนั้นก็จะแบ่งออกเป็นการตกปลาหนัง และปลาเกล็ด ซึ่งปลาสองชนิดนี้มีอุปนิสัยการกินเหยื่อที่ค่อนข้างจะแตกต่างกัน

 


การเข้ากินเหยื่อของปลาเกล็ด การเข้ากินเหยื่อของปลาเกล็ดนั้นโดยส่วนมากจะใช้วิธีดูดแล้วพ่นเหยื่อหรือใช้วิธีดันเหยื่อให้แตกแล้วดูดกินเหยื่อที่ลอยขึ้นจากก้อนเหยื่อ จะไม่ฮุบกินที่ก้อนเหยื่อโดยตรง บางชนิดจะใช้จมูกดันพลิกก้อนเหยื่อไปเรื่อย เช่นปลานวลจันทร์เทศ ทำให้บางครั้งสายเบ็ดจะตึงเหมือนปลาติดเบ็ดแล้ว แต่เมื่อวัดแล้วกับไม่ติดปลา เนื่องจากนักตกปลาใช้โฟมเกี่ยวตัวเบ็ดใหญ่ซึ่งจะเหมาะสมกับปลาชนิดอื่น บางครั้งจะเห็นสายเบ็ดหย่อนลงมาอย่างรวดเร็ว เนื่องจากปลานวลจันทร์โดนเบ็ดเกี่ยวที่ปากหรือจมูกเมื่อปลาเหล่านี้ตกใจจะรีบว่ายกลับยังแหล่งอาศัยของมันที่อยู่แถว ๆชายฝั่ง เมื่อเห็นสายเบ็ดหย่อนนักตกปลาก็มักจะพยายามตั้งสายให้ตึง โดยไม่รีบเก็บสายแล้ววัดคันเบ็ด ทำให้ปลาหลุดไปได้ แต่ก็มีบางครั้งที่ปลานวลจันทร์จะลากสายออกไปข้างหน้า ถ้าหากรังของมันอยู่ฝั่งตรงข้ามกับนักตกปลา แต่ถ้าเป็น ปลายี่สกเทศ จะกินเหยื่อโดยวิธีการพ่นเหยื่อหรือใช้หางตีเหยื่อให้แตกแล้วดูดกินเหยื่อที่ลอยขึ้นมาจากพื้นดิน การตกปลาชนิดนี้จึงต้องใช้เม็ดโฟมที่สามารถทำให้ตัวเบ็ดลอยยกตัวเหนือก้อนเหยื่อได้เพื่อให้ปลาดูดตัวเบ็ดเข้าปากเมื่อเบ็ดเกี่ยวปากแล้วปลาชนิดนี้จะวิ่งพาสายเบ็ดออกไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วและมักจะว่ายเข้าไปในบริเวณที่เป็นตอหรือแหล่งที่เป็นกิ่งไม้หนา ๆเพื่อหลบซ่อนตัว ถ้านักตกปลาที่ตกในบริเวณที่มีอุปสรรคเยอะ ๆ แล้ววัดเบ็ดรั้งปลาออกมาไม่ทันก็จะทำให้ตัวเบ็ดที่เหลือไปเกี่ยวกับอุปสรรคต่าง ๆทำให้ปลาดิ้นหลุดไปได้ หรือวัดคันเบ็ดทันแต่ใช้ตัวเบ็ดเล็กไปแล้วปิดเบรคแน่นเพื่อที่จะงัดปลาหนีอุปสรรค ก็อาจทำให้ตัวเบ็ดเหยียดง้างออกได้ และหากเป็น ปลานิล ก็จะมีอุปนิสัยในการกินเหยื่อที่แตกต่างออกไปอีก โดยปลาชนิดนี้จะลงกินเหยื่อที่ก้อนเหยื่อหรือที่พื้นดินและยิ่งตัวใหญ่ก็จะยิ่งกินแบบระแวงและกินเหยื่อเบามาก การใช้เบ็ดตัวเล็ก ๆแล้วเกี่ยวด้วยเม็ดโฟมเล็ก ๆไม่ให้ตัวเบ็ดลอย แต่สามารถลอยได้เมื่อโดนแรงดูดจากปากปลาก็จะทำให้มีโอกาสที่เบ็ดจะเข้าปากปลามากกว่า  ดังนั้นจึงจะต้องทำการสำรวจตรวจสอบให้ดีก่อนว่าหมายที่เราจะตกนั้นมีปลาชนิดใดบ้าง เพื่อที่จะได้จัดเตรียมตะกร้อสำหรับหุ้มเหยื่อตกปลาได้ถูกต้อง ซึ่งโดยส่วนมากแล้ว การตกปลาเล็กมักจะต้องใช้ตะกร้อที่มัดตัวเบ็ดเล็ก ๆด้วยชิ่งสั้น ๆและใช้เบ็ดหลายตัว เพราะปลาจะเข้ารุมกินเหยื่อโดยไม่ระแวงเหมือนปลาใหญ่ ทำให้ปลาติดเบ็ดได้ง่าย แต่ถ้าจะตกปลาใหญ่ก็ควรจะต้องใช้ขนาดตัวเบ็ดและเม็ดโฟมที่เหมาะสม สายชิ่งก็ควรจะใช้ยาวขึ้นให้พ้นจากกองเหยื่อ เพื่อหลีกเลี่ยงตัวเบ็ดจะไปเกี่ยวโดนปลาเล็กที่เข้ากินเหยื่อตรงกลางกองเหยื่อ เนื่องจากปลาใหญ่มักจะเข้ากินเหยื่อแบบระแวง คือจะคอยหาเล็มกินเหยื่อที่ลอยออกนอกกองเหยื่อที่ปลาเล็กรุมอยู่

 

การเข้ากินเหยื่อของปลาหนัง ปลาหนังส่วนมากจะเป็นปลาที่กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร ยกเว้นบางชนิด เช่น ปลาบึก ที่จะกินพืชเป็นหลัก ดังนั้นวิธีการกินเหยื่อจึงแตกต่างกันค่อนข้างมาก ปลาสวาย มักจะหากินเหยื่อที่ลอยตามน้ำมา ดังนั้นการเลียนแบบธรรมชาติโดยการใช้เศษขนมปังเกี่ยวตัวเบ็ดแล้วปล่อยชิ่งยาวให้ลอยออกนอกก้อนเหยื่อ ก็เป็นวิธีที่ได้ผลดีเช่นกัน แต่ก็ใช่ว่าจะได้ผลเสมอไปบางหมายปลาหนังอาจเข้ากินที่ก้อนเหยื่อ ดังนั้นจึงควรทดลองหลาย ๆแบบเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าปลากินเหยื่อที่ความยาวชิ่งเท่าไหร่

รูปแบบตะกร้อ ก็มีมากมายหลายรูปแบบ แล้วแต่ว่านักตกปลาท่านใดจะคิดค้นกันออกมาอย่างไร แต่วัตถุประสงค์ก็คือการใช้เป็นที่สำหรับทำให้เหยื่อเกาะตัวรวมกันเพื่อที่จะนำเหยื่อลงไปในน้ำให้ตรงหมายที่ต้องการ มาดูตะกร้อแต่ละรูปแบบกันครับ

1. ตะกร้อตาย ตะกร้อแบบนี้คือตะกร้อที่นักตกปลาจะผูกตัวเบ็ดติดกับตะกร้อเลย จะใช้ชิ่งสั้นหรือชิ่งยาวก็แล้วแต่พฤติกรรมการกินของปลาแต่ละชนิด เหมาะกับการตกปลาทั่วไปและเป็นที่นิยมของนักตกปลาทั่วไป บางครั้งอาจมีการใส่ตะกั่วตรงแกนกลางเพื่อบังคับไม่ให้ตะกร้อเคลื่อนออกจากกองเหยื่อเมื่อเหยื่อละลายหมด เลาปลาเข้ามากิเหยื่อก็จะมีโอกาสได้ปลามากขึ้นแล้สามารถแช่เหยื่อทิ้งไว้ได้นานขึ้นกรณีที่หมายนั้นไม่ค่อยมีปลาเล็กมาคอยแย่งกินเหยื่อ

takraw16

takraw17

takraw15

takraw8

takraw3

takraw11

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2. ตะกร้อวิ่ง สำหรับตะกร้อวิ่งก็เป็นรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยม รูปร่างทั่วไปก็จะคล้าย ๆตะกร้อตาย แต่จะมีรูตรงแกนกลางซึ่งอาจทำด้วยโลหะ หรือพลาสติกก็ได้ สำหรับสอดสายเบ็ดเข้าไปแล้วไปผูกกับตัวเบ็ดอีกทีโดยที่ตัวเบ็ดไม่ได้ผูกที่ตัวตะกร้อ เพื่อที่เวลาปลาลากสายเบ็ดออกไปจะได้ไม่มีตะกร้อติดไปด้วยทำให้ปลาลดความระแวงและไม่ปล่อยหรือสบัดหลุดจากตัวเบ็ดก่อนที่นักตกปลาจะวัดคันเบ็ดให้เกี่ยวปากปลา นิยมใช้กับปลาที่กินเหยื่อระแวงมาก ๆ เช่นปลานิล เป็นต้น

 

takraw10

takraw12

takraw14

takraw19

 

 

 

 

 

 

 

 

นอกจากตะกร้อสองชนิดแล้วก็ยังมีอีกหลายรูปแบบที่นักตกปลาประดิษใช้กันและปรับรูปแบบตามการใช้งานในเช่น ในหมายที่มีพื้นเป็นโคลนเยอะเวลาก้อนเหยื่อตกลงไปอาจจมโคลนทำให้ปลาหาเหยื่อไม่เจอ ก็จะมีการนำตะกร้อที่มีใส้โฟมมาใช้เพื่อพยุงก้อนเหยื่อไม่ให้จมโคลน เป็นต้น

takraw19

takraw9

takraw21

 

 

 

 

 

 

 

 

สำหรับบทความนี้ก็ขอจบแต่เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ ครั้งต่อไปจะเป็นเรื่องอะไรที่จะนำมาเสนอให้เพื่อ ๆนักตกปลาได้อ่านไว้เป็นความรู้และนำไปปรับใช้ในการตกปลา ก็คอยติดตามกันต่อไปนะครับ สวัสดีครับ

 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุ๊กกี้(Cookies Policy)

เพื่อเพิ่มประสบการณ์การใช้งานให้ดียิ่งขึ้น และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านกด "ยอมรับ" หรือใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อ ถือว่าท่านยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้ โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมและการตั้งค่าคุกกี้ (รวมถึงการปฏิเสธ และการลบ) ได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้