อบเชยเถาว์ เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์เดียวกับตีนเป็ด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Atherolepis pierrei Costantin มีชื่อท้องถิ่นที่เรียกกันตามแต่ละพื้นที่ ว่า เครือเขาใหม่ เชือกเถา กำยานเครือ อบเชยป่า จั่นดิน กู้ดิน ตำยาน เป็นต้น
เป็นพันธุ์ไม้เถาเลื้อยขนาดเล็ก มักขึ้นพันต้นไม้อื่นหรือเลื้อยไปตามดิน เถายาวประมาณ 5-10 เมตร ที่เถาว์จะมีขนสั้น ๆและมียางสีขาว เถาว์มีสีน้ำตาลไปจนถึงม่วง มีขนาด 1.3-2 มิลลิเมตร รากมีกลิ่นหอมคล้ายเปลือกอบเชย เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด
ใบจะออกเป็นคู่ ๆตรงข้ามกัน ใบเป็นลักษณะขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายใบแหลม มีความกว้างของใบประมาณ 0.8-2.8 ซม. ยาวประมาณ 2.5-6 ซม. ผิวใบเรียบสีเขียวเข้ม มีลายสีขาวที่เส้นใบเห็นได้ชัดเจน มียางสีขาวและมีกลิ่นเหม็นเขียว ก้านใบเมื่อยังอ่อนอยู่จะมีขน และเมื่อแก่ขนจะร่วงหมด มีความยาวประมาณ 2 มม.
ดอก จะออกเป็นช่อตามซอกใบ 1 ช่อมีประมาณ 5-6 ดอก กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบสีเหลืองอมส้ม ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบเช่นเดียวกัน มีสีชมพูอ่อนอมส้ม เป็นดอกสมบูรณ์เพศ คือมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีอยู่ในดอกเดียวกัน จะออกดอกช่วงเดือน มีนาคม-เมษายน
ผล มีลักษณะรูปไข่ยาวติดกันเป็นคู่ ผิวผลเรียบมีสีเขียวนวล มีร่องตามยาว ผลยาวประมาณ 7-10 ซม.
สรรพคุณของอบเชยเถาว์ รากอบเชยเถาว์มีสรรพคุณบำรุงหัวใจ ช่วยให้ชุ่มชื่นกระปรี้กระเปร่า ใช้ปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียนศรีษะ รักษาอาการหน้ามืดตาลาย ขับลมในลำไส้ แก้อาการปวดมวนในท้อง แก้บิด แก้ท้องเสีย และสามารถน้ำมาต้มอบไอน้ำเพื่อรักษาผื่นคันได้ด้วย
ประโยชน์ด้านอื่น ๆ นอกจากจะมีสรรพคุณเป็นสมุนไพรแล้ว ผลของอบเชยเถาว์ ยังสามารถนำมารับประทานได้ โดยรับประทานสดจิ้มกับน้ำพริก มีรสชาติมัน ๆปนฝาดและหวานเล็กน้อย และยังสามารถนำมาเป็นอาหารสัตว์จำพวก โค กระบือ ได้อีกด้วยเนื่องจากมีคุณค่าทางอาหารสูง
กระเจียวแดง ผักที่มีคุณค่าทางสมุนไพร
การเลือกคันเบ็ดให้เหมาะสมกับการตกปลาหน้าดินแต่ละประเภท
ทำความเข้าใจใหม่ ปลาทับทิมไม่ได้เป็นหมันนะจ๊ะ
[powr-comments id="b9f2545b_1628223434173"]