ปลานิล เป็นปลาที่สามารถอาศัยอยู่ได้ในน้ำจืดและน้ำกร่อย มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ที่แม่น้ำไนล์ ทวีปแอฟริกา พบทั่วไปตามหนอง บึง และทะเลสาบในประเทศซูดาน, ยูกันดา และทะเลสาบแทนกันยีกา ปลานิลนำเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรก โดยสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทรงจัดส่งเข้ามาทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 จำนวน 50 ตัว ครั้งนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อนํ้าภายในสวนจิตรลดา เป็นหนึ่งโครงการในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ผลการทดลองปรากฏว่าปลานิลที่โปรดเกล้าให้ทดลองเลี้ยงได้เจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ได้เป็นอย่างดี ต่อมาจึงได้พระราชทานชื่อว่า ปลานิล
ปลานิล มีรูปร่างลักษณะคล้ายปลาหมอเทศ แตกต่างกันตรงที่ปลานิลจะมีลายสีดำสลับจุดสีขาวบริเวณครีบหลัง ลำตัวมีสีเขียวปนน้ำตาล ความยาวลำตัวประมาณ 20-25 เซนติเมตร อุปนิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง หากินในบริเวณน้ำไม่ลึกมากนัก ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีสามารถอยู่ในแหล่งน้ำได้ทั้งน้ำไหลและน้ำนิ่ง และน้ำที่มีความกร่อยสูง แต่ไม่ชอบอยู่ในน้ำที่เย็นกว่า 10 องศาเซลเซียส ในหนึ่งปี ปลานิงจะผสมพันธุ์และออกลูกได้ 5-6 ครั้ง ทำให้แพร่พันธุ์อย่างรวดเร็ว กินอาหารที่เป็นสัตว์น้ำตัวเล็ก ๆจำพวกกุ้งฝอย หนอนต่าง ๆ แมลง และสามารถกินพืชน้ำบางชนิดเป็นอาหารได้เช่นกัน
การตกปลานิล อย่างที่ทราบมาแล้วว่าปลานิลนั้นกนั้นเหยื่อที่ใช้ตกปลานิลธรรมชาติที่ดีที่สุดก็คือ กุ้งฝอยกับไส้เดือนนั่นเอง แต่ตามหมายธรรมชาติทั่วไปเราจะเห็นนักตกปลาใช้เหยื่อรำ+ขนมปังสูตรต่าง ๆ ตกปลานิลและสามารถได้ปลานิลเช่นกัน เนื่องจากปลาชนิดนี้สามารถกินธัญพืชเป็นอาหารได้เช่นเดียวกัน สูตรเหยื่อตกปลานิลสูตร 2 แต่จะต้องมีวิธีตกที่ถูกต้องเหมาะสมจึงจะได้ตัว ซึ่งนักตกปลาทั่วไปที่ไม่เคยตกปลานิลมักจะพลาดตรงจุดนี้ เนื่องจากเราเข้าใจว่าปลานิลก็จะมีอุปนิสัยการกินเหยื่อเช่นเดียวกับปลาเกล็ด ปลากินพืชทั่วไป คือการดูดกินเหยื่อที่ลอยออกจากก้อนเหยื่อ นักตกปลาหลายท่านจึงใช้วิธีเกี่ยวเม็ดโฟมขนาดใหญ่พอที่จะพยุงตัวเบ็ดให้ลอยขึ้น เพื่อให้ปลาดูดเข้าปาก วิธีการนี้จะได้แต่ปลาที่มีขนาดเล็กเนื่องจากปลานิลขนาดเล็กจะเข้ารุมกินเหยื่อเป็นฝูงทำให้ตัวเบ็ดที่ลอยขึ้นมาเกี่ยวที่ลำตัวของปลา และเมื่อโดนเบ็ดเกี่ยวแล้วปลาจะดิ้นทำให้ตัวอื่นตกใจหนีไป ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ปลาใหญ่ที่รอเหยื่ออยู่ด้านนอกเกิดการระแวงได้ง่าย การกินอาหารของปลานิลขนาดใหญ่นั้นจะเข้ากินเหยื่ออย่างระแวงและจะลงกินกับพื้น ไม่กินเหยื่อที่ลอยขึ้นมา ดังนั้นการเกี่ยวเม็ดโฟมจึงควรต้องใช้เม็ดโฟมเล็ก ๆขนาดแค่พอพยุงตัวเบ็ดให้สามารถลอยได้เมื่อถูกแรงดูดจากปากปลาเท่านั้นและตัวเบ็ดก็ควรจะใช้เบอร์เล็ก ๆและมีความคมสูง เช่นเบ็ดทรง จินุ เบอร์ 0.5-2 ซึ่งจะมีความเบาและคม เพราะปลานิลเมื่อดูดอาหารเข้าปากแล้วหากมีสิ่งแปลกปลอมจะรีบพ่นออกอย่างรวดเร็ว หากตัวเบ็ดไม่คมก็จะไม่เกี่ยวปากปลา และในการวัดคันเบ็ดนั้นก็ไม่ควรจะวัดแรงหรือเพียวแค่ยกคันตั้งขึ้นก็เพียงพอ เพราะปลานิลเป็นปลาที่ปากด้านบนขอบปากจะมีลักษณะเป็นผังผืดบาง ๆและฉีกขาดได้ง่าย หากเบ็ดเกี่ยวตรงส่วนนี้ก็มีโอกาสที่จะขาดและหลุดได้ง่าย เราจึงเห็นนักตกปลาใช้เบ็ดที่มีแอ็คชั่นค่อนข้างอ่อนในการตกปลานิล นักตกปลาบางท่านอาจใช้วิธีเกี่ยวตัวเบ็ดด้วยกุ้งหรือไส้เดือนไปด้วยโดยใช้สายหน้ายาวกว่าปกติเพื่อล่อปลาใหญ่ที่อยู่นอกกลุ่มให้เข้ามากิน วิธีนี้ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะสามารถคัดไซส์ปลาได้เช่นกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่ได้มีสูตรตายตัวเพราะปลาแต่ละแหล่งน้ำแต่ละหมายก็จะมีอุปนิสัยแตกต่างกันไป บางหมายที่ปลายังไม่ระแวงการเกี่ยวแบบตัวเบ็ดลอยก็ใช้ได้ผลดีเช่นเดียวกัน และยังเพิ่มโอกาสที่จะได้ปลาชนิดอื่นอีกด้วย ก็ขอให้นักตกปลานำไปปรับใช้กันเอานะครับ สุดท้ายนี้ก็ขออวยพรให้ทุกท่านที่ออกหมายให้หมาน ๆได้ปลากันทุกคนครับ