fish1
ปลาพลวง มีชื่อเรียกทั่วไปในภาษาไทย ตามภาคต่าง ๆว่า ปลาพลวง,ปลาพลวงหิน,ปลามุง
ชื่อสามัญ     Soro brook carp
ชื่อวิทยาศาสตร์ Neolissochilus stracheyi

ลักษณะ   ลำตัวทรงกระบอกแบนข้างเล็กน้อย หัวมน ปากเล็ก เกล็ดใหญ่ ลำตัวมีสีน้ำตาลอมเขียวหรือ

เหลือบสีทอง ด้านข้างมีสีเหลือบเงิน มีแถบสีคล้ำพาดยาวไปถึงโคนหาง

ครีบหางเว้าลึกเป็นแฉก มีแถบสีคล้ำที่ขอบทั้ง 2 แฉก

โดยทั่วไป ปลาพลวงจะกินแมลง พืช และผลไม้ เป็นอาหาร  มักจะอยู่ร่วมกันเป็นฝูง บริเวณน้ำตกและลำธารบนภูเขาที่มีน้ำไหลแรง

ลักษณะทั่วไป    ทางภาคเหนือมีชื่อเรียกว่า ปลามุง ภาคกลางและภาคใต้เรียกว่าปลาพลวง หรือพลวงหิน เป็นปลาในตระกูล Cyprinidae ที่มีขนาดกลาง น้ำหนักมากที่สุด ที่พบที่ถ้ำปลาจังหวัดแม่ฮ่องสอน 15-20 กิโลกรัม มีความยาว 1 เมตร ลักษณะลำตัวยาว แบนด้านข้าง มีเกล็ดขนาดใหญ่ หัวเล็กมีหนวด 2 คู่ อยู่บนปาก (rostral barbels) และมุมปาก (maxillary barbells) ครีบท้องและ ครีบก้นมีขนาดใกล้เคียงกัน ลำตัวมีสีน้ำตาลปนเขียว เขียวปนน้ำเงิน หรือสีน้ำตาลปนดำเข้ม ซึ่งสีของปลาชนิดนี้จะขึ้นอยู่กับ สิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่ (กรมประมง, 2525) มีแถบสีดำเริ่มจากบริเวณหัวหลังตาเรื่อยไปจนถึงโคนหาง ซึ่งเกิดจากจุดสีดำบริเวณฐาน ของเกล็ดที่เรียงตามยาว 2 แถว ทำให้เห็นเป็นแถบสีดำพาดตลอดตามความยาวของลำตัว แถบนี้อยู่เหนือเส้นข้างตัว เส้นข้างตัวมี เกล็ด 26 อัน เหนือแถบสีดำมีแถบสีเหลืองขนานไปกับแถบสีดำ เหนือแถบสีเหลืองเป็นสีน้ำตาลหรือน้ำเงินเขียว ใต้เส้นข้างตัวมีสีเทา น้ำเงิน ส่วนท้องมีสีขาว (Smith, 1945)

fish2 ปลาพลวงหินเป็นปลารสชาติดีเป็นที่นิยมรับประทานของชาวไทยภูเขา แต่การจับไม่ถูกวิธี ของชาวเขา เช่น การใช้กระแสไฟฟ้าช๊อต, การใช้ยาฆ่าแมลงทำให้เป็นการทำลายเผ่าพันธุ์ ปลาพลวงหินที่อาศัยในลำธารขนาดเล็ก ถูกทำลายหมด ปัจจุบันยังพอจะ พบอยู่บ้าง เช่น บริเวณถ้ำปลา จังหวัดแม่ฮ่องสอน หรือในเขตอนุรักษ์ของกรมป่าไม้ นอกนั้นพบได้บ้าง ตามลำธารภูเขาในป่าลึก โอกาสที่ปลาพลวงหินจะสูญพันธุ์ไปจากลำธารภูเขาจึงมีมากหากไม่ได้รับการอนุรักษ์ไว้ ในปี 2530 ศูนย์วิจัย และพัฒนาประมงน้ำจืดเชียงใหม่ได้รวบรวมพันธุ์ปลาชนิดนี้มาเลี้ยงในบ่อดินในศูนย์ฯ โดยออกไปรวบรวม ช่วงน้ำหลาก ซึ่งพบปลา ว่ายน้ำรวมกันในแม่น้ำปายและสายอื่นๆ เขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ปลาที่ได้น้ำหนักมากกว่า 700 กรัม โดยพบว่า ปลาบอบช้ำจากการ ลำเลียงมาก ปลาส่วนใหญ่เมื่อนำมาเลี้ยงในบ่อจะตายภายใน 2 – 3 เดือน เนื่องจากเกล็ดหลุดทำให้เกิดเชื้อราบริเวณที่เป็นแผล ปลาไม่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิสูงกว่าเดิมมากกว่า 5 องศาเซลเซียสได้ (แหล่งรวบรวมอุณหภูมิน้ำประมาณ 16 – 18 องศาเซลเซียสน้ำในบ่อในศูนย์ฯ เฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส) และมีพาราสิต (หนอนสมอ) เกาะที่เหงือกปลาและบริเวณปากไปจน ถึงลำคอ ทำให้ปลาไม่สามารถหายใจและกินอาหารได้ fish3ต่อมาในปี 2533 ถึงปี 2535 ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเชียงใหม่ ได้วางแผนการรวบรวมพันธุ์ โดยพยายาม รวบรวมปลาขนาดเล็กที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี (Chervinski, 1982; โกมุท และคณะ, 2534) พบว่า มีปลาพลวงหินอาศัยอยู่ในบริเวณต้นน้ำแม่หวานซึ่งเป็น ลำธารภูเขาในเขตป่าลึกของอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ และบริเวณหน้าเขื่อนแม่สะงา จังหวัดแม่ฮ่องสอน เขื่อนนี้รับน้ำจากแม่น้ำสะงา ซึ่งเป็นสาขาย่อยของน้ำปายที่ไหล ลงสู่แม่น้ำสาละวินในประเทศพม่า แม่น้ำนี้มีน้ำตก 6 ชั้น โดยชั้นบนสุดอยู่ในป่าลึก จุดที่ทำการรวบรวมเป็นชั้นที่ 4 ชื่อน้ำตกผาเสื่อ ปลาขนาดนิ้วที่รวบรวมได้ใช้ ศึกษาทดลองเลี้ยงเพื่อให้เป็นพ่อแม่พันธุ์ และศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเชียงใหม่ประสบความ สำเร็จในการเพาะพันธุ์และการอนุบาลปลาพลวงหิน เมื่อปี 2540 (โกมุท และคณะ, 2540) และได้นำพันธุ์ปลาพลวงหินปล่อยคืน ธรรมชาติ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุ๊กกี้(Cookies Policy)

เพื่อเพิ่มประสบการณ์การใช้งานให้ดียิ่งขึ้น และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านกด "ยอมรับ" หรือใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อ ถือว่าท่านยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้ โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมและการตั้งค่าคุกกี้ (รวมถึงการปฏิเสธ และการลบ) ได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้