aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL2hlLzAvdWQvNS8yOTQ4NS9rYWVtcGZlci5qcGcอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เดินหน้าพัฒนาสมุนไพรสู้โควิด เตรียมลุยต่อวิจัยกระชาย ช่วยรักษาโควิดนำร่องทดลองในมนุษย์ก่อนนำไปใช้จริงต่อจากฟ้าทะลายโจร พร้อมหนุนรัฐแจกชุดยาฟ้าทะลายโจร ช่วยผู้ป่วยกักตัวที่บ้าน Home Isolation พร้อมแนะผู้ป่วยที่เป็นโรคไต โรคตับ ใช้ยาภายใต้การดูแลของแพทย์

DSCF7753.jpgวันที่ 18 สิงหาคม 2564 พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เปิดเผยในงานสัมนาออนไลน์ Health Care วัคซีนประเทศไทย ในหัวข้อ  “Home Isolation ทางรอดวิถีใหม่ ทำอย่างไรให้รอดจริง” ระหว่างวันที่ 18-22 สิงหาคม 2564 จัดโดย มติชน ข่าวสด และประชาชาติธุรกิจ ในเครือมติชนร่วมกับพันธมิตรจัดขึ้นว่า ในแง่ของสมุนไพรสำหรับการป้องกันโรคโควิด-19 ปัจจุบันยังไม่มีสมุนไพรตัวไหนสามารถป้องกันโรคดังกล่าวได้ แต่ในแง่ของการรักษาพบว่าฟ้าทะลายโจรยังคงมีประสิทธิภาพในการรักษาสูงสุดอยู่

 นอกจากนี้ปัจจุบันทางกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ยังได้เดินหน้าทดลองสมุนไพรไทยอย่าง กระชาย ในมนุษย์ เพื่อหาความปลอดภัย และผลข้างเคียงก่อนนำมาใช้ควบคู่กับการรักษาจริงต่อไป ขณะเดียวกันยังมีกลุ่มสมุนไพรอย่าง ขิง และโกฐจุฬาลัมพา ที่อยู่ในกระบวนการหลอดทดลอง ซึ่งพบว่าได้ผลดีในการป้องกัน แต่เบื้องต้นยังไม่มีการวิจัยในมนุษย์จึงยังไม่สามารถระบุถึงประสิทธิภาพ ผลข้างเคียงในการนำไปใช้รักษาผู้ป่วยได้ 
 

“ในการกระบวนการรักษาจากฟ้าทะลายโจร สำหรับผู้ที่ติดโควิดแต่ยังมีร่างกายแข็งแรงสามารถใช้ในการรักษาที่บ้านได้ตามปริมาณที่กำหนด โดยจำเป็นต้องดูปริมาณสาร แอนโดรกราโฟไลด์ (สารที่ช่วยยับยั้งการแบ่งตัว หรือขยายตัว และลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสในฟ้าทะลายโจร) ที่ 1-80 มิลลิกรัมต่อวันรับประทานต่อเนื่อง 5 วัน  ขณะที่กลุ่มผู้ป่วยโรคไต โรคตับ กลุ่มที่มีโรคประจำตัวหรือเด็กที่มีข้อพึงระวังอยู่จำนวนมาก จำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เสียก่อน”

อย่างไรก็ดีในส่วนของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พร้อมสนุบสนันภาครัฐในการร่วมจัดส่งชุดฟ้าทะลายโจร สำหรับผู้ป่วยกักตัวอยู่บ้านแบบ Home Isolation อย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมียาสำหรับสมุนไพรประจำบ้าน หรือยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบทบาทการบรรเทาอาการของโรคโควิด-19 ใน 4 กลุ่มหลัก สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการดูแลตัวเองเบื้องต้น ได้แก่ 1.กลุ่มลดไข้ บรรเทาอาหารปวดเมื่อย อาทิ ยาเขียวหอม ยาจันทลีลา ยาห้าราก ฯ 2.บรรเทาอาการในระบบทางเดินหายใจ เช่น อาการน้ำมูกไหล ไอ และเจ็บคอ ได้แก่ ยาแก้ไอผสมก้านพลู,ผสมมะขามป้อม หรือยาตรีผลา ฯ  3.บรรเทาอาการในระบบทางเดินอาหาร เช่นคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียท้องอืดเฟ้อ เช่น น้ำขิง และ 4.อาการอื่นๆ เช่น อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ เช่น โกฐจุฬาลัมพา เป็นต้น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุ๊กกี้(Cookies Policy)

เพื่อเพิ่มประสบการณ์การใช้งานให้ดียิ่งขึ้น และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านกด "ยอมรับ" หรือใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อ ถือว่าท่านยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้ โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมและการตั้งค่าคุกกี้ (รวมถึงการปฏิเสธ และการลบ) ได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้