ปลาเกล็ดที่นักตกปลามักตกได้ตามแหล่งน้ำธรรมชาติเกือบทุกที่ในประเทศไทย นั้น แน่นอนว่าปลากระมัง เป็นหนึ่งในปลาเหล่านั้นแน่นอน ปลากระมังเป็นปลาที่ตกง่าย กินเหยื่อเร็ว ไม่ค่อยระแวง จึงมักเป็นปลารับแขกให้นักตกปลาได้วัดเบ็ดกันคลายเหงา ในระหว่างที่รอปลาใหญ่มากินเบ็ด ซึ่งแน่นอนว่ามันคือปลาท้องถิ่นของไทยที่มีรสชาติไม่เลวเลยทีเดียว สามารถนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายเมนู แต่หลายท่านก็ยังไม่รู้ว่าไอ้เจ้าปลากระมังตัวนี้มันมีที่มาที่ไป และมีข้อมูลประจำสายพันธุ์ของมันอย่างไร

501db5_dddbc36326354f7485c203997afbffecmv2.gif

ปลากระมัง

ชื่อไทย กระมัง, มัง, วี, เลียม, เหลี่ยม, แพะ, สะกาง

ชื่อสามัญ SMITH'S BARB

ชื่อวิทยาศาสตร์ Puntioplites proctozsron (Bleeker)
ลักษณะทั่วไป

ปลากระมัง เป็นชื่อปลานำจืดชนิดหนึ่งอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน แต่ต่างสกุลกัน มีรูปร่างลักษณะคล้ายปลาตะเพียนขาว และปลาตะพาก แต่ลำตัวแบนข้างกว่ามาก ลำตัวเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หัวและลำตัวแบนข้าง นัยน์ตาโตและอยู่ค่อนไปทางด้านบน ไม่มีหนวด ครีบหางเว้าลึก ลำตัวด้านหลังสีคล้ำ แต่ด้านท้องเป็นสีเงิน
20161202120612_pic.jpg
ลักษณะสำคัญ ที่แตกต่างกว่าปลาสกุลปลาตะเพียนคือ ก้านครีบเดี่ยวอันสุดท้ายของครีบก้นมีขนาดใหญ่แข็ง และขอบด้านในหยักคล้ายฟันเลื่อย
มีครีบหลังยกสูง และกระโดงหลังของปลากระมังที่พบในแม่น้ำโขง จะมีความสูงสะดุดตากว่าแหล่งน้ำอื่น ๆ
ก้านครีบอันแรกและครีบก้นเป็นรอยหยัก เกล็ดเล็กละเอียดสีเงิน ครีบท้องและครีบอกสีเหลืองอ่อน ครีบหางเว้าลึก ตาโต หัวมนกลม ไม่มีหนวด ความยาวประมาณ 13-15 ซ.ม.ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 22.5 เซนติเมตร
สกุลปลากระมัง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Puntioplites)
ชื่อสกุลของปลาน้ำจืดและปลาน้ำกร่อย ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) 4 ชนิด มีรูปร่างโดยรวมคือ ลำตัวแบนข้างมากกว่าปลาสกุลอื่นในวงศ์เดียวกัน โดยมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หัวมีขนาดเล็ก ไม่มีหนวด ตาโต มีจุดเด่นคือ สันหลังยกสูงและครีบหลังก้านสุดท้ายแข็งและมีขนาดใหญ่ ยกสูง ด้านหลังของก้านครีบนี้มีทั้งรอยยักและไม่มีรอยยัก ซึ่งแตกต่างกันไปตามแต่ชนิด
พบกระจายพันธุ์อยู่ในที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย, แม่น้ำโขง และคาบสมุทรมลายูไปจนถึงเกาะบอร์เนียว, เกาะชวา และเกาะสุลาเวสี
มี 4ชนิดดังนี้ คือ

Puntioplites bulu (Bleeker, 1851)
Puntioplites falcifer (Smith, 1929)
Puntioplites proctozystron (Bleeker, 1851)
Puntioplites waandersi (Bleeker, 1858-59)

 dsc_1610.jpg

ถิ่นอาศัย ในแหล่งน้ำจืดทั่วประเทศไทย แต่ละภาคจะเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามภาษาท้องถิ่น ภาคกลางเรียกว่า ปลากระมัง บางแห่งเรียกชื่อสั้น ๆ เช่นที่บึงบอระเพ็ด เรียกว่า ปลามัง หรือบางคนเรียก ปลาสมิด ที่ปากน้ำโพมักเรียก ปลาเลียม หรือปลาเหลี่ยม

อาหาร พืชพันธุ์ไม้น้ำ อินทรีย์สารที่เน่าเปื่อย

ขนาด ความยาวประมาณ 13-15 เซนติเมตร และขนาดใหญ่ที่สุดมีผู้พบยาวประมาณ 22-22.5 เซนติเมตร

ประโยชน์ ปลากระมังใช้เป็นอาหารได้ทั้งสดและตากแห้ง



เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุ๊กกี้(Cookies Policy)

เพื่อเพิ่มประสบการณ์การใช้งานให้ดียิ่งขึ้น และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านกด "ยอมรับ" หรือใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อ ถือว่าท่านยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้ โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมและการตั้งค่าคุกกี้ (รวมถึงการปฏิเสธ และการลบ) ได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้