IMG 0523 min min

หลายท่านที่เป็นนักตกปลาทั้งมือเก่าและมือใหม่ อาจจะเคยตั้งคำถามว่ารอกตกปลาที่ใช้กันอยู่ทั่วไปมันมีกี่ประเภท และอะไรบ้าง รอกแต่ละประเภทใช้งานกันแบบไหนและรอกชนิดใดควรนำไปใช้กับการตกปลาอะไรบ้าง นักตกปลาหลายท่านใช้รอกตัวเดียวตกปลามันแทบทุกประเภท

ซึ่งจริง ๆ แล้วมันก็ไม่ได้ผิดอะไร แต่ถ้าเรามาทำความรู้จักกันให้ถ่องแท้ และใช้อย่างถูกวิธี เลือกใช้ขนาดรอกให้ตรงกับการตกปลาแต่ละประเภทก้น่าจะช่วยถนอมรอกตัวโปรดของเราให้อยู่กับเราไปนาน ๆ และที่สำคัญก็จะเพิ่มโอกาสได้ปลามากขึ้นกว่าเก่า เราลองมาทำความรู้จักรอกประเภทและขนาดต่าง ๆ กันดีกว่าครับ จะได้เลือกใช้ให้ตรงการใช้งานของเรา

 

เราสามารถแบ่งรอกที่ใช้ตกปลาออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ดังนี้นะครับ

      1.รอกสปินนิ่ง  รอกสปินนิ่ง DAIWA REVROS LT 2019 รอบ 6.2:1 ลูกปืน4BB | Lazada.co.th

      รอกสปินนิ่งเป็นรอกที่ไม่มีความซับซ้อนทางด้านกลไกมากนัก นักตกปลาสามารถใช้งานได้อย่างง่ายดายจะมีส่วนประกอบสำคัญอยู่ดังนี้นะครับ

         1.ตัวเรือน หรือบอดี้รอก เป็นส่วนที่บรรจุฟันเฟืองต่าง ๆ รวมถึงแกนสปูน และระบบเรียงสาย

         2.สปูน  เป็นอุปกรณ์สำหรับเก็บสายเอ็นที่ใช้ตกปลา และในส่วนอุปกรณ์ตัวนี้จะประกอบไปด้วย คลิ๊กเสียง สำหรับแจ้งเตือนเวลาปลาลากสายเบ็ดออกจากสปูน และด้านบนยังมีช่องสำหรับใส่ผ้าเบรคและจานเบรคอีกด้วยเพื่อใช้ต่อสู้กับปลา

         3.โรเตอร์ เป็นอุปกรณ์ในการกว้านสายเก็บเข้าสปูน

         4.แขนหมุนรอก สำหรับหมุนเก็บสายเอ็น

         5.ขารอก เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อต่อกับตัวบอดี้รอก มีไว้สำหรับจับยึดกับคันเบ็ดนั่นเอง

      รอกสปินนิ่งก็จะมีการแบ่งขนาดไว้ตามการใช้งาน เช่น รอกสำหรับตีเหยื่อปลอม ก็จะมีขนาดเล็ก เช่นเบอร์ 1000-2500 ก็จะเหมาะสำหรับตีเหยื่อปลอมตกปลาน้ำจืดขนาดไม่ใหญ่มาก เช่นปลาช่อน ชะโด กระสูป ฯลฯ ส่วนเบอร์ที่ใหญ่ขึ้นมา เช่นเบอร์ 3000-3500 ก็เหมาะสำหรับตีเหยื่อปลอมขาดใหญ่ หรือจะนำไปใช้งานไลท์จิ๊กก็ได้ ส่วนรอกที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมาอีก เช่น เบอร์ 4000-6000 ก็จะเหมาะกับงานหน้าดิน สำหรับการตกปลาที่มีขนาดใหญ่ และต้องการตีเหยื่อไกล ๆ เนื่องจากมีการจุสายได้มากและมีขนาดสายใหญ่ขึ้น เช่นการตกยี่สกใหญ่ สวายใหญ่ตามเขื่อนหรือแม่น้ำ ซึ่งจะมีอุปสรรคมากมาย เช่นตอไม้ สวะต่าง ๆ รอกที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมาอีกเช่นเบอร์ 7000-9000 ซึ่งจะมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากจุสายขนาดใหญ่ได้มาก จึงเหมาะที่จะนำไปตกปลาที่มีขนาดใหญ่ เช่น ปลาบึกขนาดใหญ่ สวายขนาดใหญ่ ปลากระโห้ ฯลฯ ที่มีขนาดน้ำหนักเกิน 50 กก.ขึ้นไป หรือนำไปตกปลาทะเลบนเรือ ซึ่งบางครั้งก็มีการใช้รอกขนาดที่ใหญ่กว่านี้ เช่นเบอร์ 10000 ขึ้นไป นอกจากรอกขนาดใหญ่แล้ว เดี๋ยวนี้รอกขนาดเล็ก ๆ เช่น เบอร์ 500-800 ก็กำลังเป็นที่นิยมของนักตกปลาประเภทสปิ๋ว เนื่องจากการตกประเภทนี้บางครั้งต้องถือคันตลอดเวลา หรือต้องวัดคันเบ็ดบ่อยและไม่จะเป็นต้องตีเหยื่อไกล ๆ ดังนั้นจึงเน้นรอกที่มีน้ำหนักเบามากกว่าการจุสายได้มาก

       สำหรับรอกสปินนิ่งก็จะแบ่งแยกย่อยออกเป็นอีหลายรูปแบบ เช่น

        -รอกสปินนิ่งเบรคหน้าซึ่งรอกแบบนี้ก็จะมีตัวปรับเบรคอยู่ด้านบนตัวรอก RYOBI รอกสปินนิ่ง Reel Sea Feather ล้อตกปลากันน้ำ Surf Reel 5 + 1BB น้ำเค็ม  Fishing Tackle| | - AliExpress

       -รอกสปินนิ่งเบรคท้าย ซึ่งจะมีตัวปรับเบรคอยู่ด้านล่างของตัวรอกShimano IX2000R รอกสปินนิ่งเบรคท้าย | Lazada.co.th

       -รอกสปินนิ่งแบบเบทรันเนอร์                                        อยากทราบความแตกต่างของรอก เพน 2 ตัว นี้ครับ แล้วตัวไหนหน้าใช้กว่ากัน :  Fishing Question/Comment

    เป็นรอกที่ทำขึ้นมาเพื่อความสะดวกในการปรับแต่งระดับเบรคให้พอดีสำหรับใช้งานเหมือนกับรอกเบทคาสติ้ง แต่ไม่มีปุ่มกดฟรีสปูนแต่ได้มีการจัดทำกลไกการปรับแต่งเบรคอีกชุดไว้ด้านล่างของตัวรอกโดยนักตกปลาจะมีการปรับเบรคด้านท้ายให้สายสามารถให้ปลาดึงออกได้โดยง่าย พร้อมทั้งคันโยกที่คอยสลับการมำงานระหว่าเบรคหน้ากับเบรคหลัง โดยเมื่อกดคันโยกลงจะเป็นการทำงานของเบรกหลังแต่เมื่อดันคันโยกขึ้นหรือหมุนแขนรอก คันโยกก็จะดีดขึ้นพร้อมทั้งการทำงานของเบรคหน้าที่เราตั้งไว้อย่างพอดีแล้ว จึงง่ายต่อการอัดปลา แต่ก็ยังไม่เป็นที่นิยมในบ้านเราเนื่องการการใช้งานจะทำให้นักตกปลาเกิดการสับสนเนื่องจากการคุ้นชินกับรอกแบบเบรคเดี่ยวมากกว่า

 

    2. รอกเบทคาสติ้ง

 รอกเบท Shimano Cardiff 201A (หมุนซ้าย) เงินทอง ราคา ถูก | 411eStore TH                                             

   รอกประเภทนี้ รูปทรงจะแตกต่างจากรอกสปินนิ่งค่อนข้างมาก และการใช้งานก็ค่อนข้างจะซับซ้อน และมีขนาดมากมายสำหรับการใช้งานในแต่ละประเภทเช่นเดียวกัน โดยภายในตัวบอดี้ก็จะประกอบไปด้วยฟันเฟือง แกนสปูน สปูน ระบบเบรค คลิ๊กเสียง และแขนหมุน ซึ่งวัตถุประสงค์ก็เช่นเดียวกับรอกสปินนิ่ง คือเอาไว้ใช้ตกปลาเช่นเดียวกัน แต่รอกเบทจะมีการแบ่งประเภทไว้ชัดเจนว่ารอกแต่ละแบบเอาไว้ตกปลาแบบไหน เช่น รอกเบททรงกลมทั่วไป ซึ่งจะมีการแบ่งขนาดโดยใช้ตัวเลขตามแต่ละยี่ห้อจะกำหนดมา แต่โดยรวมก็จะคล้าย ๆ กันและมีขนาดแต่ละเบอร์ใกล้เคียงกัน เช่นบางยี่ห้อจะกำหนดเป็น เบอร์ 4000-10000 บางยี่ห้อ ก็กำหนดเป็นเบอร์ 100-700 เป็นต้น นักตกปลาก้จะต้องเทียบเคียงเอาว่าแต่ละเบอร์ของทั้งสองยี่ห้อนี้เบอร์ไหนมีขนาดเท่ากันโดยดูจากความจุของสายขนาดเดียวกัน 

     รอกหยดนํ้า PARROT หมุนขวา / หมุนซ้าย - You love fishing  

นอกจากนี้รอกเบทคาสติ้ง ยังแบ่งเป็นประเภทรอกหยดน้ำ ซึ่งเป็นรอกที่เอาไว้ใส่กับคันตีเหยื่อปลอม และรูปทรงก็ จะสร้างมาให้ดูกลมกลืนบางและจับถือง่าย มีน้ำหนักเบา เนื่องจากนักตกปลาต้องถืออยู่ตลอดเวลา และก็สร้างมาหลายขนาดตามความเหมาะสมในการใช้งานเช่นกัน และรอกประเภทนี้จะไม่มีคลิ๊กเสียงมาให้นะครับ

รอกตกปลาทะเลขนาดใหญ่ ๆ PENN

รอกเบทคาสติ้งอีกประเภทคือ รอกเบทขนาดใหญ่ สำหรับใช้ในงานตกปลาทะเล ซึ่งก็จะทำมามากมายหลายขนาดตามการใช้งานเช่นเดียวกัน ซึ่งรอกเหล่านี้จะเน้นความคงทนแข็งแรงมากกว่าอื่นใดเพราะต้องต่อสู้กับปลาทะเลตัวใหญ่ ๆ ระดับ 50-100 กิโล หรือใหญ่กว่านั้น

 3.รอกฟลาย             เต็มรูปแบบโลหะรอกฟลาย Fly รอกตกปลา ROCK รอกตกปลา | Lazada.co.th

  รอกฟลายจะมีความเป็นรอกคลาสสิค ที่นักตกปลาประเภทนี้นิยมใช้งานและค้นหาความดั้งเดิมของการตกปลา จะมีรูปแบบคล้าย ๆ กันทั้งหมด โดยการตกปลาด้วยรอกประเภทนี้ก็จะใช้คันที่มีรูปแบบและแอ็คชั่นรวมถึงวิธีการตกที่แตกต่างจากรอกสปินนิ่ง และรอกเบทคาสติ้ง โดยจะเป็นการตกโดยใช้เหยื่อปลอมที่มีลักษณะคล้ายแมลง อาจทำด้วยขนนกหรือวัสดุที่มีน้ำหนักเบาและลอยน้ำ โดยจะใช้ตกปลาล่าเหยื่อผิวน้ำเป็นหลัก แต่ก็มีหลายครั้งที่สามารถตกได้ปลาที่ล่าเหยื่อใต้น้ำเช่นกัน

 4.รอกกระปุก      รอกกระปุก King cobra GT200 ใส่สายได้เยอะ ตีไกล ไม่ฟู่ | Shopee Thailand

ลักษณะของรอกกระปุกจะมีลักษณะที่คล้ายกับรอกสปินนิ่ง แต่จะมีฝาครอบสปูนไว้อีกที โดยจะมีช่องปล่อยสายเอ็นอยู่ด้านบนฝาครอบ บ้านเราไม่นิยมนำมาใช้ร่วมกับคันเบ็ดตกปลามากนัก เพราะโดยสภาพแล้วรอกกระปุกจะเหมาะสำหรับใช้ติดกับปืนฉมวกยิงปลามากกว่า โดยจะมีแขนหมุนเก็บสายเอ็นด้วยเช่นกัน วิธีใช้งานก็จะมีปุ่มกดฟรีสปูนเช่นเดียวกับรอกเบทคาสติ้งซึ่งจะต้องทำการกดฟรีสปูนก่อนการใช้งานทุกครั้งเพื่อให้สายวิ่งออกไปได้อย่างอิสระ

 

 ก็เป็นความรู้ที่รวบรวมมาจากแหล่งต่าง ๆ และประสปการณ์ของตัวเองที่ตกปลามาและใช้อุปกรณ์มาหลายรูปแบบนะครับ รอกบางตัวอาจจะให้ข้อมูลได้ไม่มากเนื่องจากไม่เคยใช้งาน และข้อมูลบางส่วนอาจจะไม่ถูกต้องทั้งหมดก็ถือว่าเป็นการแบ่งปันประสปการณ์กันนะครับ ยังไงก็จะพยายามเขียนบทความเกี่ยวกับอุปกรณ์ตกปลามาให้เพื่อ ๆนักตกปลาได้อ่านกันเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่องนะครับ บทความนี้ก็คงจะจบไว้แค่นี้ก่อนครับ

 

 

  

        

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุ๊กกี้(Cookies Policy)

เพื่อเพิ่มประสบการณ์การใช้งานให้ดียิ่งขึ้น และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านกด "ยอมรับ" หรือใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อ ถือว่าท่านยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้ โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมและการตั้งค่าคุกกี้ (รวมถึงการปฏิเสธ และการลบ) ได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้