ชื่อสมุนไพร มะรุม
ชื่ออื่น ๆ / ชื่อประจำถิ่น ผักอีฮุม (อีสาน) มะค้อนก้อม (ภาคเหนือ) กาแน้งเดิง (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี) ผักเนื้อไก่ (ชาวฉานแถบแม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ Horse Radish Tree , Drumstick
ชื่อวิทยาศาสตร์ Moringaoleifera Lam
วงศ์ Moringaceae
ต้นมะรุมมีปลูกอยู่ทั่วโลก โดยมนุษย์รู้จักพืชชนิดนี้มากกว่า 4000 ปี แล้ว ในต่างประเทศทำการวิจัย และสกัดเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อบำรุงร่างกายมาหลายปีแล้ว ตนได้รับความนิยมอย่างสูง ทั้งในยุโรป และอเมริกา เชื่อว่ามีคุณสมบัติช่วยบำบัดโรคได้กว่า 300 ชนิด โดยเฉพาะโรคที่สำคัญ ๆ ของมนุษย์ เช่น มะเร็ง ,ขาดสารอาหาร และเอดส์ เป็นต้น โดยมีสายพันธุ์อยู่ทั้งหมด 13 สายพันธุ์ มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชีย อินเดียแถบเทือกเขาหิมาลัย แต่ก็พบได้ทั่วไปในแอฟริการและเขตร้อนของทวีปอเมริกา มะรุมเป็นพืชผักสมุนไพรที่มีความสำคัญกับวิถีชีวิตของคนไทยในอดีตมาจนถึงปัจจุบัน สำหรับต้นมะรุมที่ปลูกทั่วไปในประเทศไทย เรียกว่า พันธุ์ข้าวเหนียว เป็นสารพันธุ์เดียวกับต่างประเทศที่เรียกว่า MoringaOleiferaและอีกสายพันธุ์ที่เรียกว่าสายพันธุ์กระดูก (MoringaStenopatala )
ลักษณะทั่วไปของมะรุม
• Moringaoleifera Lamหรือมะรุมพันธุ์ข้าวเหนียว ลักษณะทั่วไปของมะรุม เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 15 – 20 เมตร ลำต้นเป็นพุ่มโปร่ง เปลือกลำต้นเป็นสีเทาอ่อน ผิวค่อนข้างเรียบ เติบโตมีความสูงถึง 4 เมตร และออกดอกภายในปีแรกที่ปลูก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ชนิดที่แตกใบย่อย 3 ชั้น ยาว 20 – 40 ซม.ออกเรียงแบบสลับ ใบย่อยยาว 1 – 3 ซม. รูปไข่ ปลายใบและฐานในมน ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่าและมีขนเล็กน้อยขณะที่ใบยังอ่อน ออกดอกในฤดูหนาว ดอกเป็นดอกช่อ สีขาว กลีบเรียง มี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบ แยกกัน ผลเป็นฝักยาว เปลือกสีเขียวมีส่วนคอดและส่วนมน เป็นระยะ ๆ ตามยาวของฝักฝักยาว 20 – 50 ซม. เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม มีปีกบางหุ้ม 3 ปีก เส้นผ่าศูนย์กลางของเมล็ดประมาณ ซม.
• MoringaStenopatala หรือมะรุมพันธุ์กระดูก ลักษณะมีขนาดเล็กสูงไม่ถึง 12 เมตร หรือประมาณ 39 ฟุต ลำต้นก็มีหลายกิ่ง ใบมี คล้ายแผ่นเชิงวงรีรูปไข่หรือรูปใบหู ดอกมีกลิ่นหอม มีกลีบเลี้ยงสีครีม ขาว ชมพู หรือสีเหลือง มีเกสรตัวผู้เป็นสีขาว ฝักมีความยาว 30 – 60 ซม.
การขยายพันธุ์มะรุม
มะรุมเป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลางการปลูกมะรุมได้ด้วยการเพาะเมล็ดและการปักชำ การปลูกการดูแลรักษาก็ง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน เกษตรกรจึงมักนิยมปลูกมะรุมไว้ริมรั้วบ้านหรือหลังบ้าน 1 – 5 ต้น เพื่อให้เป็น ผักคู่บ้านคู่ครัวแบบพอเพียงที่ไม่ต้องซื้อหา
ประโยชน์และสรรพคุณมะรุม
- บำบัดโรคเบาหวาน
- รักษาโรคความดันโลหิตสูง
- ช่วยรักษารักษาโรคมะเร็ง
- ช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ
- ช่วยรักษาโรคเก๊าส์
- ช่วยรักษาโรคกระดูกอักเสบ
- ช่วยรักษาโรคมะเร็งในกระดูก
- รักษาโรครูมาติซั่ม
- ช่วยรักษาโรคลำไส้อักเสบ ท้องเสีย ท้องผูก
- รักษาโรคพยาธิในลำไส้
- รักษาโรคทางเดินของลมหายใจ
- ช่วยรักษาโรคปอดอักเสบ
- รักษาโรคตา
- แก้ไข้หัวลม
- เป็นยาบำรุง
- ช่วยขับปัสสาวะ ขับน้ำตา
- ต้านอนุมูลอิสระ
- เพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกาย
- ช่วยบำรุงรักษาผิวที่แห้งใช้ชุ่มชื่นชะลอความเหี่ยวย่นของผิว
- ช่วยรักษาแผลสด ถูกมีดบาด หรือแผลสดเล็กๆ น้อยๆ
- ลดอาการผื่นผ้าอ้อมในเด็ก
- ช่วยบรรเทาอาการเกิดสิว ช่วยลดจุดด่างดำหลังจากโดนแดด
- ใช้นวดศีรษะ รักษาราผิวหนัง บรรเทาอาการผมร่วง คันศีรษะ
- แก้อาการบวม
- บำรุงไฟธาตุ
- ใช้รักษาโรคขาดอาหารในเด็กแรกเกิดถึง 10 ขวบ
- ช่วยรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ให้อยู่ในภาวะควบคุมได้
- น้ำมันมะรุม ใช้หยอดจมูกรักษาโรคภูมิแพ้ ไซนัสโรคทางเดินหายใจ
- ใช้หยอดหูฆ่าและป้องกันพยาธิในหู
- รักษาอาการเยื่อบุหูอักเสบ รักษาโรคหูน้ำหนวก
- ช่วยชะลอความแก่
- ป้องกันมะเร็ง สารเบนซิลไทโอไซยาเนตไกลโคไซด์ชนิดหนึ่งและสารไนอาซิไมซิน (niazimicin)
รูปแบบและขนาดวิธีใช้มะรุม
ตำราพื้นบ้านใช้ใบมะรุมใช้พองแผลช่วยห้ามเลือด ยอดอ่อนลวกรับประทานมะรุมเป็นอาหาร ดอกตากแห้งชงเป็นชาหรือต้มรับประทานน้ำเป็นยา ฝัก ใช้ประกอบอาหารรับประทาน เมล็ดใช้สกัดทำเป็นน้ำมันมะรุม เปลือกลำต้นและรากใช้ต้มกรองกากเพื่อรับประทานน้ำเป็นยา
การศึกษาทางเภสัชวิทยาของมะรุม
มีการศึกษาในคนเพียงชิ้นเดียว โดยมีเพียงรายงานเกี่ยวกับการใช้ยา Septillinซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสารสกัดจากพืช 6 ชนิด ได้แก่ มะรุม บอระเพ็ด จิตรลดา มะขามป้อม ชะเอมเทศ Balsamodendendronmukul(พืชอินเดีย) และเปลือกหอยสังข์ โดยพบว่า Septillinให้
• ฤทธิ์ลดความดันโลหิต สารสกัด น้ำและเอทานอลของใบมะรุม สารสกัดเอทานอลของผลและฝัก สารในกลุ่ม glycosides ในสารสกัดเมทานอลของฝักแห้งและเมล็ด แสดงฤทธิ์ลดความดันโลหิตในสุนัชและหนูแรท
• ฤทธิ์ต้านการเกิดเนื้องอกและฤทธิ์ต้านมะเร็ง สาระสำคัญในกลุ่ม thiocarbamateจากใบ สารสกัดเอทานอลของเมล็ด แสดงฤทธิ์ทั้งยับยั้งการเจริญเติบโต และทำลายเซลล์มะเร็งเมื่อป้อนสารสกัดของผลและฝัก ขนาด 5 มก./กก. น้ำหนักตัว มีผลลดจำนวนหนูเม้าส์ที่เป็นมะเร็งผิวหนังได้
• ฤทธิ์ลดระดับคอเลสเตอรอล สารสกัดน้ำของส่วนใบ มีผลลดระดับคอเลสเตอรอลและลดการเกิด plaque ในหลอดเลือดของหนูแรทและกระต่ายซึ่งได้รับอาหารชนิดที่มีไขมันสูง การทดสอบโดยให้กระต่ายที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูงและกระต่ายปกติ โดยให้กินผลมะรุมขนาด 200 มก./กก. น้ำหนักตัว ต่อวัน นาน 120 วัน เปรียบเทียงกับยาลดไขมันโลวาสแตทิน 6 มก./กก. น้ำหนักตัว ต่อวัน และให้อาหารไขมันมาก พบว่ามีผลลดระดับคอเลสเตอรอล, phospholipids, triglycerides, low density lipoprotein (LDL), very low density lipoprotein (VLDL), อัตราส่วนระหว่างคอเสลเตอรอลและ phospholipids และ atherogenic index ในกระต่ายกลุ่มแรกได้
• ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร สารสกัด เมทานอลของใบ และสารสกัดเมทานอลจากส่วนดอกสามารถยับยั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหารชองหนูแรท ซึ่งถูกเหนี่ยวนำโดยแอสไพรินได้ ในขณะที่สารสกัดน้ำจากใบมีผลป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วย
• ฤทธิ์ป้องกันตับ อักเสบ สารสกัด 80% เอทานอลจากใบ สารสกัดน้ำและสารสกัดเอทานอลจากดอก มีฤทธิ์ป้องกันการทำลายเซลล์ตับหนูแรทที่ได้รับ aceteaminophen (ยาพาราเซตามอล) และสารสกัดน้ำจากส่วนรากแสดงฤทธิ์ป้องกันทำลายเซลล์ตับหนูแรทจากการเหนี่ยวนำโดยยาไรแฟมพิซิน
• ฤทธิ์ต้านออกซิเดชันสารสกัดน้ำสารสกัด 80% เมทานอล และสานสกัด 70% เอทอนอลจากส่วนใบ ผลแห้งบดหยาบและสารสกัดน้ำจากเมล็ด และสารในกลุ่ม phenol จาก ส่วนราก สามารถต้านและกำจัดอนุมูลอิสนะได้
• ฤทธิ์ต้านเชื้อ แบคทีเรีย น้ำคั้นสดของใบ สารประกอบคล้าย pterygosperminของดอกสารสกัดอะซีโตนและสานสกัดเอทอนอลของเปลือกราก และสาร athominจากกเปลือกราก มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด นอกจากนี้ยังมีการใช้สารสกัดน้ำมันจากเมล็ดซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคเรียเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ กับตา โดยพบว่าใช้ได้ดีกับ pyodermiaในหนูเมาส์ ที่มีสาเหตุมาจาก Staphylococcus aureus
• ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาล ผงใบแห้งสารสกัด 95% เอทานอล และเถ้าจากเปลือกต้น มีผลลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูแรทปกติ และหนูที่เป็นเบาหวาน ส่วนสารสกัดเมทานอลจากเปลือกรากแสดงฤทธิ์ละระดับน้ำตาลในหนูเม้าส์
• ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ชาชงน้ำร้อนและสารสกัดเมทานอลจากราก มีฤทธิ์ยับยั้งอาการบวมที่อุ้งเท้าหลังของหนูเรทและหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยว นำด้วยคาราจีแนน ในขณะที่เมล็ดแก่สีเขียว สารสกัดเอทานอลจากเมล็ดแห้ง และสารสกัดเอทานอลจากเมล็ด มีผลลดการอักเสบของทางเดินหายใจในหนูตะเภา ซึ่งยืนยันถึงการใช้มะรุมในทางพื้นบ้านเพื่อบำบัดอาการผิดปกติจากภูมิแพ้ เช่น หอบหืด สารสกัดเอทานอลจากเมล็ด สามารถลดการบวมของอุ้งเท้าบริเวณข้อของหนูแรท และพบว่าสารสกัดมะรุมมีผลลด oxidative stress ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับฤทธิ์ต้านการอักเสบด้วย
• ฤทธิ์ชองสารสกัดใบมะรุม ที่สกัดด้วยน้ำและสกัดด้วยเอทานอล ต่อการสลายไขมันในเซลล์ไขมันจากหนูขาวพันธุ์ Wistarเพศผู้โดยแบ่งหนู 16 ตัว ออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 8 ตัว เลี้ยงด้วยอาหารที่แตกต่างกัน 2 ชนิด คือ อาหารปกติ (normal pellet diet; NPO) และอาหารที่มีไขมันสูง (high fat diet; HFD) เป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ จากนั้นตัดแยกเนื้อเยื่อไขมันบริเวณอัณฑะมาเตรียมเซลล์ไขมันโดยใช้วิธีการย่อยด้วยเอนไซม์ collagenase ทดสอบสารสกัดใบมะรุมที่ความเข้มข้นต่างๆ และทิ้งไว้ที่อุณหภูมิ 37̊C เป็นเวลา 2 ชั่งโมง พบว่า สารสกัดใบมะรุมที่สกัดด้วยน้ำที่ความเข้มข้น 1 และ 3 mg/mL เพิ่มการสลายไขมันได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05; n=4) ที่สภาพวะ basal lipolysis ทั้งในกลุ่มหนู NFD และ HFD ในขณะที่สารสกัดใบมะรุมที่สกัดด้วยเอทานอลเฉพาะที่ความเข้มข้นสูงสุด คือ 3 mg/mL ที่เพิ่มการสลายไขมันได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05; n=4) ที่สภาวะ basal lipolysis ในกลุ่มหนู NFD แต่ไม่มีผลในกลุ่มหนู HFD ฤทธิ์ของสารสกับใบมะรุมต่อการสลายไขมันที่เกิดขึ้นนี้ อาจมีความเกี่ยวข้องกับกลไกการออกฤทธิ์ของสารสกัดใบมะรุมในการลดระดับน้ำตาลในเลือด
การศึกษาทางพิษวิทยาของมะรุม
มีการรายงานความเป็นพิษของมะรุมในระดับเซลล์และในสัตว์ทดลองว่า
• สาระสำคัญ 4 (alpha-L-rhamnosyloxy) phenylacetonitrileจากเมล็ด แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์ใน Micronucleus test
• สารสกัดน้ำจากใบ หรือ 90% เอทานอล ในขนาด 175 มก/กก ของน้ำหนักแห้ง เมื่อป้อนให้หนูแรทที่มีการผสมพันธุ์ สามารถทำให้เกิดการแท้งได้
• สารสกัดน้ำของรากขนาด 200 มก/กก น้ำหนักตัว เมื่อให้กับหนูแรท จะเหนี่ยวนำให้เกิดทารกฝ่อ (foetalresorption) ในการตั้งครรภ์ระยะสุดท้าย
• สารสกัดเมล็ดด้วย 0.5 M borate buffer มีผลทำให้เม็ดเลือดแดงของกระต่ายรวมตัวกัน
• เมื่อให้หนูแรทกินผงของเมล็ดดิบที่แก่ของมะรุม โดยไม่จำกัดจำนวนเป็นเวลา 5 วัน พบว่าทำให้ความอยากอาหาร การเจริญเติบโตและการใช้โปรตีนลดลง ขนาดของกระเพาะอาหาร ลำไส้ ตับ ตับอ่อน ไต หัวใจ และปอดใหญ่ขึ้น ในขณะที่ต่อมไทมัส และม้ามมีลักษณะฝ่อลง โดยเปรียบเทียบกับหนูกลุ่มที่ได้รับอาหารที่มีไข่ขาวเป็นส่วนประกอบ
• การทดสอบความเป็นพิษโดยให้หนูเม้าส์กินส่วนราก หรือฉีดสารสกัดไม่ระบุชนิดตัวทำตัวละลายเข้าใต้ผิวหนัง ในขนาด 10 ก./กก. น้ำหนักตัว ไม่พบความเป็นพิษ
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
หากจะรับประทานใบ เนื้อในฝัก หรือดอกมะรุมซึ่งเราใช้เป็นอาหารมานานแล้วเพื่อการรักษาโรค ก็อาจทำไดแต่อย่าหวังผลมากนัก และไม่ควรรับประทานในปริมาณมาก หรือติดต่อกันนานเกินไป ซึ่งอาจจะมีการจะสมสารบางอย่างและอาจเป็นพิษได้ และจากรายงานความเป็นพิษในสัตว์ทดลอง ซึ่งพบว่าทำให้เกิดการแท้ง ดังนั้นควรระมัดระวังการใช้ส่วนต่างๆ ของมะรุมในสตรีมีครรภ์ คนที่เป็นโรคเลือด G6PD ไม่ควรรับประทาน
เอกสารอ้างอิง
1. มะรุมต้นไม้มหัศจรรย์.ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดระยอง (พืชสวน)
2. รศ.ดร.สุธาทิพ ภมรประวัติ.มะรุมลดไขมันป้องกันมะเร็ง.นิตยสารหมอชาวบ้าน.เล่มที่338.มิถุนายน2550
3. ดร.วรรดาเรศโภดาพานิช,ดร.เสาวนาภรณ์ โชคสกุลพร.รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการการกำจัดโลหะหนักปนเปื้อนในน้ำด้วยเมล็ดมะรุมศึกษาโดยโฟโต้อิเลคตรอนสเปกโตรสโกปี.มหาวิทยาลัยนครพนม.มีนาคม 2558.หน้า 1-6
4. A.Rolff,H.Weisger,U.Larg,B.Stimm,Moringaoleifera Lam.,1785,Enzyklopa”die der Holzgewa”chse-40.Erg.Lfg.6/05,(2009)
5. PiettaPG.Flavonoids as antioxidantys.J Nat Prod .2000;63:1035-42
6. Alkaloid.เข้าถึงได้จาก http://commons.wikimedia.org/wiki/File:6-MAM.svg
7. บทความที่เกี่ยวข้อง บทที่ 2.สำนักงานคงระกรรมการวิจัยแห่งชาติ หน้า 5-24
8. Healer,D.2008.มะรุมพืชมหัศจรรย์.(cited 21 February2011).Available from:URL: http://thaiherbclinic.com/node/141.
9. รศ.วิมล ศรีสุข.พืชสมุนไพรหลากประโยชน์”.จุลสารข้อมูลสมุนไพร ฉบับ 26 (4) กรกฎาคม2552
10. อธิกา จารุโชติกมล,ปวิตรา พูลบุตร,จริยาพร เพริศแก้ว ,ปรีณ์สุดา สามสี่ , รุ่งนภา ปาพรม , ศิวากรณ์ แดนรักษ์.ฤทธิ์ของสารสกัดใบมะรุมต่อการสลายไขมันในเซลล์ไขมันหนูขาว.นิพนธ์ต้นฉบับ.วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 มีนาคม – เมษายน 2556 หน้า129