การตกปลา นั้นนับว่าเป็นเกมกีฬาที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นเกมที่มีทั้งความตื่นเต้น เร้าใจ และยังเป็นกิจกรรมการพักผ่อนหย่อนใจไปในตัวอีกด้วย

เป็นเกมกีฬาที่ไม่ต้องลงทุนมากมายและสามารถทำได้ทั่วไปตามแหล่งน้ำสาธารณะ หรือจะเข้าบ่อตกปลาที่เสียเงินก็ยังมีให้เลือกมากมาย การตกปลานั้นก็มีมากมายหลายรูปแบบให้เลือกตามความชอบของแต่ละบุคคล เช่นการตกปลาหน้าดิน ซึ่งต้องอาศัยความอดทนในการนั่งเฝ้าคันเบ็ดรอปลากินเหยื่อ การตกด้วยเหยื่อปลอม การตกชิงหลิว หรือสปิ๋ว การตกแบบฟลาย เป็นต้น แต่การจะตกปลาในแต่ละแบบที่กล่าวมานั้นให้ได้ตัวก็ไม่ใช่จะทำกันได้ง่ายง่าย ๆ ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการหลอกล่อให้ปลามากินเหยื่อของเรา ซึ่งในวันนี้ ผมก็จะมานำเสนอเทคนิคและวิธีการตกปลาหน้าดินมาให้ท่านได้ทราบและนำไปปรับใช้กัน เพื่อที่เวลาออกหมายจะได้ ๆปลาติดไม้ติดมือกลับบ้านไปฝากแม่บ้าน หรือได้รับความตื่นเต้นเร้าใจเวลาสู้กับปลา กันบ้างครับ

การตกปลาหน้าดิน ก็จะแบ่งปลาเหล่านี้ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ นะครับ

1.ปลาเกล็ด ซึ่งก็ได้แก่ปลากินพืชชนิดต่าง ๆที่มีเกล็ด ได้แก่ปลาตระกูลปลาคาร์ฟ หรือปลาตะเพียน เช่น ปลาไน ปลาจีน ปลายี่สก ปลานวลจันทร์ ปลากระโห้ ปลากา และปลาที่กินทั้งพืชและสัตว์น้ำเล็ก ๆ เช่น ปลานิล เป็นต้น

Tilapiaindex

2.ปลาหนัง ซึ่งก็ได้แก่ปลาจำพวก สวาย บึก เทพา เทโพ กดเหลือง กดคัง เป็นต้น

ปลาดุก1ปลาเทโพ4img 25560822163749

 

เรามาเริ่มกันที่ปลาเกล็ดกันเลยนะครับ

การตกปลานั้นจะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยากนะครับ เพราะอุปนิสัยการกินเหยื่อของปลาแต่ละชนิดนั้นแตกต่างกัน หากเรารู้ ก็จะเป็นเรื่องง่าย แต่ถ้าเราไม่รู้มันก็เป็นเรื่องยากครับ บางครั้งเราไปตกปลาแล้วปลาไม่ยอมกินเหยื่อทั้ง ๆ ที่ใช้เหยื่อเดียวกันกับเพื่อน แต่ปลากลับกินเบ็ดเพื่อนมากกว่า ก็เพราะว่าการที่ปลาจะกินเหยื่อหรือไม่นั้นมันมีปัจจัยมากมาย เช่น ระดับน้ำ คุณภาพน้ำ ปริมาณอ๊อกซิเจน ลมฟ้าอากาศ เป็นต้น ปลาบางชนิดชอบหากินบริเวณน้ำไม่ลึกมาก เช่นบริเวณที่เป็นป่าสาหร่ายที่มีน้ำไม่เกิน 1-3 เมตร แต่เราเลือกที่จะไปตกตรงบริเวณที่น้ำลึก ก็เลยไม่มีปลามากินเหยื่อ หรือบางที่เป็นแหล่งน้ำที่มีความลึกมากแต่เราใช้วิธีตกหน้าดิน ซึ่งปลาจะไม่ลงไปหาอาหาร หรือปลาบางชนิดหากินกลางน้ำเป็นต้น ดังนั้นการศึกษานิสัยการกินอาหารของปลาก็ช่วยได้ในระดับหนึ่ง ส่วนเหยื่อนั้นผู้เขียนเห็นว่าก็มีส่วนสำคัญ แต่ถึงแม้เหยื่อจะดีแค่ไหน ถ้าตงบริเวณที่ตกไม่มีปลาไปหาอาหาร โอกาสที่ปลาจะเข้ากินเหยื่อเราก็น้อยตามไปด้วย แต่ในทางตรงกันข้าม ถึงแม้เหยื่อเราจะไม่เทพเท่าคนอื่นเขา แต่เราเลือกทำเลเลือกหมายได้ถูกต้องตีเหยื่อลงไปตรงที่ปลาชอบมาหาอาหาร โอกาสที่ปลาจะกินเหยื่อของเราก็มากตามไปด้วย และสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เรานำปลาตัวใหญ่ขึ้นจากน้ำได้นั่นก็คือ อุปกรณ์ของเราต้องเหมาะสม เช่นคันเบ็ด สายเบ็ด และตัวเบ็ด นอกจากนี้แล้ว เราจะต้องมีสติ ไม่ตื่นเต้นจนเกินไปเมื่อเวลาปลากินเหยื่อ ไม่เช่นนั้นแล้วเราอาจจะควบคุมปลาไม่ได้และทำให้ปลายหลุดหรือสายเบ็ดขาด ตัวเบ็ดง้าง เป็นต้น

 -เรามาดูชุดอุปกรณ์กันก่อนครับว่าเราควรจะเลือกแบบไหน ในการตกปลานั้นการเลือกอุปกรณ์ตกปลาที่เหมาะสมย่อมมีโอกาสที่จะนำปลาขึ้นจากน้ำได้มากกว่า

 -คันเบ็ด การเลือคันเบ็ดที่เหมาะสมย่อมมีโอกาสสู้ปลาแล้วนำปลาขึ้นจากน้ำได้ง่าย มีการแบ่งเวทคันเบ็ดไว้ 9 ระดับ ดังนี้ครับ

UL = Ultra Light
EXL = Extra Light
L = Light
ML = Medium Light
M = Medium
MH = Medium Heavy
H = Heavy
EXH = Extra Heavy
UH = Ultra Heavy

แต่ที่เราใช้ตกปลาเกล็ดโดยทั่วไปก็จะใช้เวท UL-MH เป็นหลัก เพราะส่วนมากปลาเกล็ดในธรรมชาติจะไม่ค่อยมีขนาดที่ใหญ่มากนัก จะมีก็เพียง กระโห้ และยี่สกเทศ เท่านั้น ที่จะมีขนาดใหญ่และสู้เบ็ดได้รุนแรง หากเป็นปลาอย่างอื่น ที่มีน้ำหนักต่ำกว่า 10 กก.ลงมา คันระดับ MH หรือ M ก็สามารถที่จะเอาปลาขึ้นจากน้ำได้และหากปลาในแหล่งที่จะไปตกมีขนาดที่เล็กกว่า 2 กก. การใช้คัน UL ตกก็เป็นการตกปลาที่ได้อรรถรสอีกแบบหนึ่งเช่นกัน

-สายเอ็น สายเอ็นหรือสายเบ็ดก็มีผลต่อการตกปลาเช่นกัน หากเราใช้สายไม่เหมาะสม เช่นใช้สายใหญ่เกินไป ปลาอาจจะไม่เข้ามากินเหยื่อ เพราะเกิดความระแวง หรือตีเบ็ดไปไม่ถึงจุดที่ปลาอาศัยอยู่ หรือหากใช้สายเล็กเกินไปเมื่ปลากินเหยื่อสายอาจขาดได้ จึงต้องคำนวณให้เหมาะสมกับขนาดปลาในบริเวณที่เราจะไปตก

-ชุดปลายสาย ชุดปลายสายสำหรับตกปลาหน้าดินนั้นก็จะประกอบไปด้วย ตะกร้อสำหรับปั้นเหยื่อ ซึ่งก็มีหลากหลายรูปแบบ แล้วแต่จะเลือกใช้ ที่สำคัญควรเลือกขนาดให้เหมาะสมกับขนาดเหยื่อที่เราจะปั้นตีนะครับ หากปั้นเหยื่อก้อนใหญ่แต่ตะกร้อใบเล็กเลาตีเหยื่ออาจแตกก่อนลงน้ำได้ หรือหากใช้ตะกร้อใบใหญ่แต่จะปั้นเหยื่อก้อนเล็ก ๆ ก็ทำไม่ได้เพราะเหยื่อจะหุ้มไม่มิดตะกร้อ หรืออาจมีน้ำหนักมากเกินไปสำหรับคันเบ็ดที่เวทอ่อนทำให้ตีเหยื่อไม่ออก สำหรับตะกร้อก็จะเป็นอุปกรณ์ที่ช้ปั้นเหยื่อและผูกตัวเบ็ดติดเอาไว้ อาจใช้เบ็ดตัวเดียว 2 ตัว หรือหลาย ๆ ตัว ก็แล้วแต่พื้นที่ ๆจะตก หากมีอุปสรรคเยอะ เช่น ตอไม้ กิ่งไม้ สวะ หญ้า ก็ควรใช้เบ็ดแค่ตัวเดียวเพื่อป้องกันเบ็ดตัวที่ไม่ได้เกี่ยวปากปลาไปเกี่ยวเอาอุปสรรคเหล่านี้ได้ แล้จะทำให้เราไม่สามารถเอาปลาขึ้นจากน้ำได้ นอกจากนี้แล้ว ชุดปลายสายก็ยังมี ตะกั่ว ลูกหมุน หรือกิ๊ป ซึ่งก็แล้วแต่ว่าแต่ละท่านจะสรรหามาครับ

สำหรับวันนี้เอาไว้แค่นี้ก่อนนะครับ พรุ่งนี้เรามาต่อกันถึงวิธีการตกให้ได้ปลากันครับ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุ๊กกี้(Cookies Policy)

เพื่อเพิ่มประสบการณ์การใช้งานให้ดียิ่งขึ้น และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านกด "ยอมรับ" หรือใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อ ถือว่าท่านยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้ โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมและการตั้งค่าคุกกี้ (รวมถึงการปฏิเสธ และการลบ) ได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้