โกสน1โกสน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Codiaeum variegatum) เป็นพืชท้องถิ่นของมาเลเซีย อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตก อยู่ในวงศ์ยางพารา ลักษณะเป็นไม้พุ่มไม่ผลัดใบขนาดกลาง สูงได้ถึง 2–3 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ กว้าง 0.5–8 เซนติเมตร ยาว 5–30 เซนติเมตร มีหลายรูปแบบ เช่น รูปกลม แคบยาว บิดเป็นเกลียว ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบสอบ ขอบใบเรียบหรือหยัก แผ่นใบมีสีต่าง ๆ เช่น เหลือง ส้ม ชมพู ดอกสีขาวออกเป็นช่อแบบกระจะตามซอกใบและปลายกิ่ง ยาว 8–30 เซนติเมตร ช่อดอกมีดอกประมาณ 30–60 ดอก กลีบเลี้ยงขนาดเล็กมี 3–6 กลีบ กลีบดอก 5–6 กลีบ ดอกมีขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตร ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ช่อดอกเพศผู้โค้งลง ช่อดอกเพศเมียตั้งตรง ดอกออกตลอดปี ผลเป็นผลแบบแห้งแตกทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 9 มิลลิเมตร ภายในมีเมล็ดสีน้ำตาล 2–3 เมล็ด เส้นผ่านศูนย์กลาง 6 มิลลิเมตร

โกสน2

โกสน เป็นไม้มงคลเนื่องจากชื่อพ้องกับคำว่า กุศล จึงนิยมปลูกเป็นไม้ประดับเพื่อความเป็นสิริมงคล โดยปลูกในดินร่วน ได้รับแสงแดดครึ่งวันถึงเต็มวัน โกสนเป็นพืชต้องการน้ำปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ปักชำหรือตอนกิ่ง ทั้งต้นมียางสีขาวที่อาจก่อให้เกิดผิวหนังอักเสบ ใบอ่อนโกสนบางพันธุ์สามารถนำมารับประทานได้ ใบแก่มีรสเฝื่อน โขลกพอกท้องเด็กแก้โรคทางระบบทางเดินปัสสาวะ

โกสน มีอยู่มากมายหลายพันธุ์ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ความโดดเด่นอยู่ที่ลักษณะของใบที่มีหลากหลายทั้งรูปแบบและสีสันที่สดใสงดงาม จึงนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั้งภายในและภายนอกอาคาร ตามปกติโกสนเป็นไม้ประดับที่ปลูกไว้ภายนอกอาคาร เพราะเป็นไม้กลางแจ้งที่ชอบแดด สีสันของโกสนจะสวยงามอยู่ได้ขึ้นอยู่กับการที่ได้รับแสงแดดที่พอเพียง ดังนั้นเมื่อนำโกสนมาปลูกเป็นไม้ประดับภายในอาคาร จึงควรตั้งไว้ในที่ที่ได้รับแสงอย่างพอเพียง หรือมีแสงแดดส่องถึง มิฉะนั้นสีของใบโกสนจะซีดลง

โกสน มีความสามารถอยู่บ้างในการดูดมลพิษในอากาศ ถึงแม้จะไม่มากเท่ากับไม้ประดับชนิดอื่นๆ แต่มีข้อได้เปรียบที่สีสันสวยงามของโกสน ทำให้ได้รับเลือกเป็นไม้ประดับยอดนิยมชนิดหนึ่ง

โกสน3การจำแนกลักษณะของต้นโกสน

ต้นโกสนมีลักษณะลำต้นตั่งตรง สามารถสูงได้ถึง 2-5 เมตร ใบแตกออกจากลำต้นและยอด ลักษณะใบของต้นโกสนมีทั้งแบบกลม แบบเรียบยาว ใบแฉก ใบขดเป็นเกลียว เป็นต้น ส่วนสีสันนั้นมีความหลากหลาย เช่น สีเหลือง เขียว ม่วง ส้ม ชมพู แดง ขาว คละกันไป ในหนึ่งใบสามารถมีสีคละกันจึงเป็นความสวยงามของต้นโกสนนั้นเอง ออกดอกที่ปลายกิ่งโดยแยกเพศออกไป โดยดอกของเพศผู้จะมีกลีบดอก และดอกของเพศเมียจะไม่มีกลีบดอก

ลักษณะและสายพันธุ์ของต้นโกสน

ลักษณะของใบและสีจะตัวบ่งชี้ของสายพันธุ์ ซึ่งมีมากกว่า 30 สายพันธุ์ แดงสยาม เพชรหึง อินทรีย์แดง ทองนพคุณ แตรกุหลาบ เทพนิมิตร นฤเบศร์ และสายพันธุ์อื่นๆอีกมากมาย สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี ปักชำกิ่ง การตอนกิ่ง เสียบยอดกิ่ง การติดตา การเพาะเมล็ด และมีการผสมพันธุ์ของต้นโกสนให้ได้สายพันธุ์ใหม่ตลอดเวลาโดยใช้วิธีการผสมเกสร เพราะดอกของต้นโกสนเป็นดอกที่ไม่สมบูรณ์เพศหรือมีเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่กันคนละดอก เกษตรกรจึงเอาเกสรตัวผู้ของอีกสายพันธุ์มาผสมกันกับเกสรตัวเมียของอีกสายพันธุ์ เพื่อให้เกิดสายพันธุ์ใหม่ๆขึ้นมา

โกสน5การดูแลโกสนให้มีสีสันสวยงาม

โกสนเป็นต้นไม้ชนิดไม้พุ่ม มักนิยมปลูกในกระถางเพื่อขนาดของพุ่มมีขนาดเล็ก หากปลูกลงดินและดูแลเป็นอย่างดีก็จะมีขนาดที่ใหญ่พอสมควร เป็นต้นไม้ที่มีชอบน้ำและความชื้นสูง จึงควรรดน้ำทุกวันและฉีดสเปรย์น้ำที่ใบในตอนเย็นเพียงชะลอการระเหยของน้ำและความชื้นให้เพียงพอต่อความต้องการของต้นไม้ ปลูกในกระถางดินเผาจะดีกว่าการปลูกในกระถางพลาสติก เพราะกระถางดินเผาจะเก็บความชุ่มชื่นไว้ได้นานกว่า ต้นไม้ชนิดนี้ชอบดินที่โปร่ง ร่วนซุย ถ่ายเทอากาศและน้ำได้ดี หากใช้ดินที่แน่นมากจะทำให้ดิน
เก็บน้ำไว้เกินความจำเป็น อาจจะทำให้รากของต้นโกสนเน่า ใบร่วงง่าย ปุ๋ยที่ทำให้สีของใบโกสนนั้นเข้ม สีสันสดใสสวยงาม เห็นลายบนใบได้อย่างชัดเจนควรเป็นปุ๋ยที่มีฟอสโฟรัสและโปรแตสเซียมสูง หากใช้ปุ๋ยที่มีปริมาณไนโตรเจนสูงจะทำให้ใบของต้นโกสมมีสีเขียวมากขึ้น สีอื่นๆซีดลง ลวดลายบนใบจางหาย ไม่ชัดเจน

โกสน6สถานการณ์ด้านการตลาดของโกสน

ในช่วงนี้กระแสไม้ด่างมาแรง ซึ่งโกสนก็เป็นหนึ่งในไม้ด่างมงคลเช่นกัน ดังนั้นก็ไม่แน่ว่ากระแสของโกสนอาจจะมาแรงในช่วงนี้ก็อาจจะเป็นได้ ดังนั้นท่านที่คิดจะปลูกไว้ประดับบ้านหรือเพื่อการค้าก็น่าจะเริ่มหามาปลูกกันได้แล้วนะครับ โดยสามารถหาซื้อได้ตามตลาดต้นไม้ที่ใกล้บ้านท่าน หรือสำหรับใครที่ไม่มีเวลาสามารถสั่งซื้อต้นโกสนได้ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ ราคามีตั่งแต่หลักสิบถึงหลักร้อยแล้วแต่ขนาดและความสวยงามของใบ แต่แนะนำไปเดินดูที่ตลาดในวันหยุดดีกว่า ได้เห็นต้นจริงๆ ต่อราคาได้ด้วย ดีไม่ดีอาจจะไม่ได้ต้นโกสนกลับแค่ต้นเดียวก็ได้

สำหรับบทความนี้ที่ได้รวบรวมข้อมูลของโกสน มาให้ท่านผู้อ่านได้ศึกษากันในบทนี้นั้นก็คงต้องจบไว้แต่เพียงแค่นี้นะครับ หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับท่านบ้างไม่มากก็น้อย ครั้งหน้าเราจะนำบทความดี ๆมานำเสนอกันต่อไปนะครับสำหรับวันนี้สวัสดีครับ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุ๊กกี้(Cookies Policy)

เพื่อเพิ่มประสบการณ์การใช้งานให้ดียิ่งขึ้น และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านกด "ยอมรับ" หรือใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อ ถือว่าท่านยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้ โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมและการตั้งค่าคุกกี้ (รวมถึงการปฏิเสธ และการลบ) ได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้